“podcast” ฟีเจอร์ใหม่ใน YouTube Music

“podcast” ฟีเจอร์ใหม่ใน YouTube Music

YouTube เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีคนติดตามดูกันเป็นจำนวนมากซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย นอกจากการดูคลิปวิดีโอโดยทั่วไป ยังมี YouTube Short ไว้สำหรับคลิปวิดีโอสั้นๆ และ YouTube Music สำหรับคนที่ชื่นชอบในการฟังเพลง นอกเหนือจากนี้ยังมีบริการ YouTube Premium ที่มีฟีเจอร์อำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานตัวอย่างเช่น Background Play และ Free Ads ถึงแม้ว่าจะมีฟีเจอร์ที่เพิ่มความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้งานก็ตามแต่ทาง YouTube ก็ยังมีคู่แข่งอย่าง Spotify ซึ่งในตอนนี้มีฐานผู้ใช้งานที่มากกว่า YouTube เสียอีก

ภาพ Pexels/ Anna Tarazevich

YouTube มีการรายงานว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมามีผู้ใช้งาน YouTube Music และ YouTube Premium รวมการราว ๆ 80 ล้านบัญชี ในขณะที่ Spotify Premium งั้นมีผู้ใช้งานสูงถึง 210 ล้านบัญชี และทาง Spotify ก็เพิ่งมียอดผู้ใช้งานต่อเดือนทะลุ 500 ล้านบัญชีไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ทำให้ YouTube นั้นจำเป็นที่จะต้องเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้าไปในแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการแข่งขันแย่งชิงกันทางการตลาด ซึ่งฟีเจอร์ใหม่นี้ก็ได้มีการเปิดตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนั่นก็คือ “YouTube podcast”

ภาพ Pexels/cottonbro studio

YouTube podcast ได้มีการประกาศเปิดตัวภายในงานThe Verge’s Hot Pod Summit ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของทาง YouTube Music ที่ผู้ใช้งานสามารถฟังแบบ on-demand offline และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถฟังแบบ Background play โดยไม่ต้องสมัคร YouTube Premium และผู้ฟังยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบของพอดแคสได้ทั้งแบบ Audio และ Video ผ่าน YouTube Music ปัจจุบัน YouTube podcast เปิดบริการในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งทาง YouTube ก็มีแผนที่จะเปิดให้บริการในประเทศอื่น ๆ ในอนาคต โดยสามารถใช้บริการได้ทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Android, iOS หรือแม้แต่บนเว็บไซต์ สามารถดูตัวอย่างของ YouTube podcast ได้ที่ Twitter/TeamYouTube

สุดท้ายแล้ว YouTube podcast จะได้รับความนิยมมากน้อยเพียงใดและจะช่วยให้ค่ายแดงอย่าง YouTube นั้นสามารถจะต่อสู้แย่งชิงผู้ใช้งานกับค่ายเขียวอย่าง Spotify ได้หรือไม่ ในโลกของเทคโนโลยีที่ทุกๆ อย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปโดยเร็ว เมื่อมีการขยับเขยื้อนของคู่แข่ง แน่นอนว่า Spotify จะไม่อยู่นิ่งแน่นอนและคงจะมีฟีเจอร์ใหม่ออกมาให้กับผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน ท่ามกลางการแข่งขันกันเรื่องการตลาดผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดก็คงจะเป็นผู้ใช้บริการอย่างเรา

ข้อมูลจาก The Verge

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube ควรทำอย่างไร หลังครีเอเตอร์โดนแฮกช่อง

YouTube ควรทำอย่างไร หลังครีเอเตอร์โดนแฮกช่อง

ครีเอเตอร์ในแพลตฟอร์ม YouTube กำลังเผชิญกับปัญหาการถูกผู้ไม่หวังดีแฮกช่องเพื่อใช้ในการทำวัตถุประสงค์หลอกลวง โดยล่าสุดช่องที่ถูกแฮกไปมีชื่อว่า “Linus Tech Tips” โดยช่องดังกล่าวเป็นช่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรีวิวอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีผู้ติดตามมากกว่า 15.3 ล้านผู้ติดตาม โดยในปัจจุบันได้ถูกแฮกเกอร์เปลี่ยนชื่อช่องและใช้ช่องในการไลฟ์สตรีมโปรโมทเหรียญคริปโตที่เป็นสแกม นอกจากนี้ยังมีช่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่องอื่นๆ ที่อยู่ในเครือของ Linus Media Group ถูกแฮกด้วยเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็น Techquickle และ TechLinked

หลังจากที่ครีเอเตอร์ที่เป็นเจ้าของช่องดังกล่าวรู้ตัวแล้วว่าช่องของตนถูกแฮกไปก็ได้มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของ Google เพื่อหาทางออกร่วมกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งรวมถึงช่องอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีการคาดการณ์ไว้ว่าการแฮกครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่การที่ Password และ 2 FA ถูกเจาะ ซึ่งปัญหานี้ YouTube ต้องรีบหาทางแก้ไข และก็ได้มีครีเอเตอร์รายหนึ่งบอกว่ามีสปอนเซอร์ปลอมส่งไฟล์มาให้ดาวน์โหลด และเมื่อมีการดาวน์โหลดไฟล์นั้นมันก็จะมีไวรัสที่จะสามารถควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์จากในระยะไกลได้ทำให้ช่องใน YouTube สามารถถูกยึดไปได้นั่นเอง

ภาพ Pixabay/B_A

โดย 1 ปีที่ผ่านมามีช่องใน YouTube ถูกแฮกไปไม่น้อยเลยทีเดียวตัวอย่างเช่นช่องของกองทัพสหราชอาณาจักรได้ถูกยึดเพื่อใช้ในการหลอกลวงการลงทุนเหรียญคริปโต หรือแม้แต่ที่เป็นข่าวดังมากที่สุดสำหรับ YouTube นั่นก็คือการถ่ายทอดสดงาน Apple Event ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสดเพื่อหลอกลวงเอาเงินคริปโตเคอเรนซี่ โดยการถ่ายทอดสดดังกล่าวเป็นการปลอมแปลงจากแฮกเกอร์ นอกจากนี้ก็ยังมีช่องของคนดังมากมายถูกแฮกเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ไม่ดีอีกมากมาย

ภาพ Pixabay/TymonOziemblewski

ด้วยปัญหาเหล่านี้ YouTube ควรจะมีมาตรการป้องกันตัวอย่างเช่นโหมดล็อกดาวน์สำหรับคนที่มีผู้ติดตามเยอะ คือเมื่อมีการเข้าใช้จากเว็บเบราว์เซอร์หรือสถานที่อื่น ๆ จะไม่สามารถเปลี่ยนชื่อ, ลบวิดีโอ หรือ ทำการถ่ายทอดสดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อมีการเข้าใช้งานจากสถานที่อื่น ๆ ให้มีการส่งแจ้งเตือนไปหาผู้ใช้งาน เพื่อให้มีการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เป็นการช่วยให้เจ้าของช่องสามารถเรียกคืนช่อง YouTube ได้ทันก่อนที่จะถูกแฮกไป นอกจากนี้ YouTube ควรเพิ่มระบบ Guardian System คือเมื่อมีการลบวีดีโอ, มีการเปลี่ยนชื่อช่อง หรือทำการเพิ่ม 2 FA จำเป็นที่จะต้องได้รับการยืนยันจากอีกหนึ่งบัญชีด้วยถึงจะดำเนินการได้ ซึ่งวิธีการนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยกำจัดปัญหานี้ไปได้ไม่มากก็น้อย

สุดท้ายแล้วก็ต้องติดตามดูว่า YouTube จะมีการอัปเดตอะไรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเหล่า ครเอเตอร์และผู้ใช้งานบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้ปัญหานี้มีมากขึ้น ความนิยมของแพลตฟอร์มคงจะลดลงอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก The Verge

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Super Thank ฟีเจอร์ส่งเงินสนับสนุนใน YouTube

Super Thank ฟีเจอร์ส่งเงินสนับสนุนใน YouTube

ภาพจาก Pixabay

          แพลตฟอร์มออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube, Instagram, Tiktok หรือว่าช่องทางอื่น ๆ กลายเป็นพื้นที่ในการสร้างรายได้ของใครหลาย ๆ คนโดยเฉพาะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาและสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนั้นได้ หลายคนเมื่อมีผู้ติดตามมากขึ้นก็สามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้นตามจำนวนผู้ติดตามโดยรายได้ก็จะมาจากแพลตฟอร์มส่วนหนึ่งมาจากการขายของส่วนหนึ่งและมาจากการโฆษณาส่วนหนึ่งอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้สื่อสังคมออนไลน์หลายแพลตฟอร์ม พยายามที่จะพัฒนาเพื่อให้ผู้คนที่เราเรียกกันว่าครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้นจากเงินสนับสนุนของผู้เข้าชมตัวอย่างเช่นใน Facebook ที่ผู้ชมสามารถส่งดาวให้กับครีเอเตอร์ได้ หรือใน Twitter ที่มีฟังก์ชันที่ชื่อว่า “Tip Jars” เป็นต้นและดูเหมือนว่าทาง YouTube ก็จะนำฟีเจอร์เดียวกันนี้มาใส่ไว้ใน Application รวมถึงเว็บไซต์ด้วยเช่นเดียวกัน

ภาพจาก Google Support

          ฟีเจอร์การส่งเงินสนับสนุนให้กับ Youtuber นั้นมีชื่อว่า “Super Thank” โดยฟีเจอร์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้แล้ว 68 ประเทศโดยมีการเริ่มต้นการทดลองใช้งานตั้งแต่ในช่วงเดือนกรกฎาคมเมื่อปีที่ผ่านมาแต่ถูกจำกัดไว้ให้กับผู้ใช้งานแค่บางส่วนเท่านั้นอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวนั้นสามารถใช้งานได้กับครีเอเตอร์ที่อยู่ในโปรแกรมพาร์ทเนอร์ของ YouTube โดยสามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน YouTube Studio

           สำหรับผู้ที่ต้องการจะส่งเงินสนับสนุนนั้นสามารถส่งเงินสนับสนุนให้กับ YouTuber 2 ดอลลาร์สหรัฐจนถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐหรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 60 บาทจนถึง  1,500 บาท  เมื่อมีการส่งเงินผ่านฟีเจอร์ดังกล่าวบนหน้าจอก็จะมีการแสดงรูปภาพอนิเมชั่นเป็นภาพ Gif และ ในช่องแสดงความคิดเห็นก็จะมีการไฮไลท์ชื่อไว้ด้วยเช่นเดียวกันและ Youtuber ก็สามารถเข้ามาโต้ตอบในคอมเม้นดังกล่าวได้ 

ภาพจาก Google Support

          เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ถูกเปิดใช้งานและดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่จะต้องการเป็น YouTuber หรือที่เป็นอยู่แล้วในปัจจุบันเพราะมันสามารถเปิดโอกาสให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถสร้างรายได้ได้เพิ่มมากขึ้นและยังใกล้ชิดกับแฟนคลับของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วยและมันจะทำให้เห็นว่าใครเป็นแฟนตัวยงของรายการของคนที่เป็น YouTuber ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับฟีเจอร์ดังกล่าวต้องขอย้ำอีกครั้งว่าสามารถใช้ได้ในทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นมือถือหรือ PC 

อนาคตเราอาจจะได้เห็นคนทำงานในสายอาชีพนี้มากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามการจัดประสบความสำเร็จนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายมากขนาดนั้นเพราะกว่าจะสร้างคลิปวีดีโอให้ถูกใจใครหลาย ๆ คนเป็นเรื่องที่ไม่ได้ง่ายดายเลย

ข้อมูลจาก Gadgets360

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube ต้องจริงจังกับการกำจัดเนื้อหาที่ข้อมูลไม่เป็นจริง

YouTube

องค์กรตรวจเช็คความจริงแนะ YouTube ต้องจริงจังกับการกำจัดเนื้อหาที่ข้อมูลไม่เป็นจริง

ในโลกของสื่อสังคมออนไลน์เป็นโลกที่ไร้พรมแดนและผู้คนที่ใช้งานมีความสามารถที่จะสร้างเนื้อหาหรือ Content ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการที่มี Content ออกมาได้อย่างรวดเร็วและมากมายทำให้ผู้คนสามารถติดตามข่าวสารได้อย่างใกล้ชิด แต่การที่ข่าวสารถูกแพร่กระจายอย่างรวดเร็วนั้นก็เป็นเหมือนดาบสองคม พวกเราได้รับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ  แต่ว่าก็มีข่าวสารจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นข่าวที่มีข้อมูลไม่เป็นจริง ความรวดเร็วทำให้ความละเอียดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงลดลง ซึ่งก็อาจจะสร้างผลเสียให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารได้ ในปัจจุบันนี้สื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือว่า Twitter รวมไปถึงแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์อื่น ๆ ก็ถูกบังคับให้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจนก่อนที่จะเผยแพร่ออกไปหรือทำการลบข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นจริงให้ได้มากที่สุดซึ่งสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ก็พยายามที่จะทำตามแต่ด้วยความที่มีปริมาณของข้าวสารเป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถที่จะกำจัดปัญหานี้ให้หมดไปได้

Youtube เป็นอีกหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้คนใช้ในการอัปโหลดคลิปวิดีโอและดูคลิปวิดีโอต่าง ๆ มากมาย ซึ่งปัจจุบันก็คงจะบอกได้ว่าเราดู YouTube มากกว่าทีวีที่บ้านเราเสียอีก ด้วยข่าวสารต่าง ๆ มากมายเหล่านี้ YouTube ก็เจอกับปัญหาข่าวสารที่มีข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเช่นเดียวกัน โดย Youtube ได้ถูกตรวจสอบโดยองค์กรตรวจสอบความจริงทั่วโลกและได้มีการแนะนำให้ YouTube นั้นเริ่มจริงจังกับการนำข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงออกจากแพลตฟอร์ม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาองค์กรตรวจสอบความจริงมากกว่า 80 องค์กรด้วยการได้มีการส่งจดหมายไปให้กับ CEO ของ Youtube พร้อมกับแนบลิสต์ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นข้อเท็จจริงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาให้ด้วย

หลังจากที่ได้รับจดหมายดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยทางโฆษกของทาง Youtube ก็ได้ออกมาพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน “เครื่องมือตรวจสอบความจริงนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ว่ามันก็เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญเช่นเดียวกันที่จะช่วยระบุถึงที่อยู่ของข้อมูลที่ผิดพลาด” และเขายังบอกอีกด้วยว่า “ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาพวกเราลงทุนไปกับนโยบายและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในทุก ๆ พื้นที่ ที่อยู่ในการดูแลของเรา เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงข่าวสารต่าง ๆ ลดข่าวสารที่มีข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและคลิปวิดีโอที่มีความรุนแรง เพียงไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ใน YouTube ที่เป็นเนื้อหาที่ผิดพลาดและละเมิดกฎซึ่งภายหลังก็ถูกลบออกจากแพลตฟอร์ม” 

ไม่ว่าจะเป็นสื่อสังคมออนไลน์ประเภทไหนปัญหาในเรื่องของการควบคุมข้อเท็จจริงข่าวสารก็ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่หลาย ๆ แพลตฟอร์มให้การความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทุกแพลตฟอร์มต้องการที่จะเผยแพร่เนื้อหาที่มีความถูกต้องให้กับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุดซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าพวกเขาจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet 

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube ปกป้องครีเอเตอร์ปิดจำนวน Dislike

YouTube

YouTube ก็เป็นสื่อสังคมออนไลน์

YouTube ก็เป็นสื่อสังคมออนไลน์ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับ Facebook, Instagram หรือว่า Twitter ที่ภายในแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานที่หลากหลายและมีลักษณะเดียวกันกับสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มอื่นนั่นก็คือมีทางผู้ใช้งานที่ดีและผู้ใช้งานที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่ไว้ลงคลิปวิดีโอก็ตามทีแต่ก็ยังอนุญาตให้ผู้ชมเข้ามาคอมเม้นหรือพูดถึงคลิปวิดีโอที่ครีเอเตอร์ได้ลงไปได้ ซึ่งคอมเม้นก็จะมีหลากหลายมากมายไม่ว่าจะเป็นแนะนำ ชม รวมไปถึงการพูดคุยทั่วไป และแน่นอนว่าไม่มีคอมเม้นในแง่ดีก็ต้องมีคอมเม้นในแง่ไม่ดีด้วยเช่นเดียวกันซึ่งบางครั้งก็เป็นการคุกคามหรือวิพากษ์วิจารณ์ครีเอเตอร์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ นอกจากคอมเม้นแล้วทาง YouTube ยังมีปุ่ม Like และ Dislike ให้กับผู้ชมด้วยกฎด้วยเช่นเดียวกันซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นเลยทีเดียวว่าคลิปวิดีโอที่ทำออกมานั้นทำได้ออกมาดีหรือทำได้ออกมาไม่ดี แต่การที่มีจำนวน Dislike มากเกินไปก็อาจจะเป็นการคุกคามก็เป็นได้

ทาง YouTube ได้มีประกาศออกมาเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปุ่ม Dislike ที่อยู่ภายในแพลตฟอร์ม ซึ่งการอัปเดตครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่เข้ามารับชมนั้นจะไม่เห็นจำนวน Dislike ของคลิปวิดีโอที่เข้าไปรับชมได้โดยผู้ที่จะเห็นจำนวนของ Dislike ก็คือเจ้าของคลิปวิดีโอหรือครีเอเตอร์ที่เป็นผู้สร้างวิดีโอนั้นขึ้นมาการทำเช่นนี้เพื่อปกป้องครีเอเตอร์จากการโดนคุกคามและจากการโดน Dislike attacks โดยนับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนเป็นต้นไปฟีเจอร์ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานบน YouTube เพิ่งฟีเจอร์การปกปิดจำนวน Dislike จะถูกนำไปใช้งานกับคลิปวิดีโอปกติและคลิปวิดีโอที่มีการถ่ายทอดสดด้วย 

ในการกดปุ่ม Dislike ใน YouTube นั้นอาจจะถูกแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ นั่นก็คือการกดปุ่ม Dislike เพื่อเพิ่มยอดที่มีคนกดในกลุ่มนี้ให้เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อครีเอเตอร์แม้แต่น้อย ซึ่งอีกรูปแบบหนึ่งก็คือการกดปุ่ม Dislike เพื่อแสดงความต้องการ ตัวอย่างเช่นการกดปุ่ม Dislike ในคลิปวิดีโอเพลงที่ไม่ชอบเพื่อให้ YouTube นั้นแสดงคลิปวิดีโอเพลงที่ผู้ใช้งานชื่นชอบให้มากขึ้น และสามารถใช้ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ครีเอเตอร์มีการปรับปรุงและพัฒนา Content ของตัวเองให้ดีมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจำนวน Dislike มีผลต่อการรับชมวิดีโอด้วยเช่นเดียวกัน ผู้ชมบางกลุ่มเลือกที่จะรับชมคลิปวิดีโอต่าง ๆ จากจำนวนการกด Like และ Dislike ถ้าหากว่าคลิปวิดีโอไหนมี Dislike จำนวนมากก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีคนดูคลิปวิดีโอดังกล่าวน้อย ซึ่งการ ที่ YouTube ปิดการมองเห็นจำนวนการกด Dislike ก็เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามนอกจากการกดปุ่ม Dislike แล้ว การคอมเม้นพูดคุยกันเกี่ยวกับคลิปวิดีโอบางครั้งก็ยังเป็นคอมเม้นในเชิงลบอยู่ในที่นี้ก็คงต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหากันต่อไป

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Gamerant

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube เพิ่มออโต้แคปชั่น

YouTube

YouTube เพิ่มออโต้แคปชั่นให้กับการ Livestreams

YouTube เป็นช่องทางในการทำคลิปวิดีโอแนวสร้างสรรค์ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลายและที่สำคัญยังเป็นช่องทางในการหารายได้ของเหล่าครีเอเตอร์หลาย ๆ คนอีกด้วย นอกจากจะอัปโหลดคลิปวิดีโอแล้ว YouTube ยังเป็นช่องทางที่สามารถใช้ในการถ่ายทอดสดหรือ Livestream ได้อีกด้วยซึ่งการที่เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้บริการทั่วโลกนั้นทำให้เนื้อหานั้นมีความหลากหลายทางด้านภาษามากเลยทีเดียวและการที่จะเข้าถึงเนื้อหาทุกรูปแบบนั้นก็เป็นไปได้ยากเนื่องจากความเข้าใจในเรื่องภาษา นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ดังนั้นใน YouTube จึงได้มีระบบออโต้แคปชั่นเพื่อเป็นการขึ้น subtitle ให้กับผู้ใช้งานนั่นเอง

ระบบออโต้แคปชั่นมีอยู่ใน YouTube มาได้สักพักหนึ่งแล้วเมื่อเราเปิดคลิปที่เป็นภาษาอังกฤษก็สามารถกดออโต้แคปชั่นขึ้นมาได้เพื่อที่จะอ่าน subtitle ถ้าหากว่าฟังไม่ทันหรือจับใจความไม่ได้ โดย Youtube ได้มีการเพิ่มฟีเจอร์มีให้กับการ Livestreams ด้วย โดยครีเอเตอร์สามารถทำการถ่ายทอดสดไปพร้อมกับการเปิดระบบออโต้แคปชั่นเพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งครีเอเตอร์ที่จะสามารถเปิดระบบดังกล่าวได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีผู้กด Subscribe จำนวนอย่างน้อย 1,000 คน ได้อย่างไรก็ตามโดยแรกเริ่มระบบนี้จะสามารถใช้งานได้กับเพียงแค่ภาษาอังกฤษเท่านั้นและจะมีการเพิ่มภาษาอื่น ๆ เข้ามาอีกในภายหลัง

นอกจากระบบออโต้แคปชั่น YouTube ยังจะมีการเพิ่มระบบการแปลภาษาในช่วงปลายปีนี้อีกด้วยสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ซึ่งปัจจุบันระบบการแปลภาษานั้นมีให้ใช้งานสำหรับบนเว็บไซต์เพียงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการทดสอบความสามารถในเรื่องการนำ multiple audio tracks เข้าไปใส่ไว้ในคลิปวิดีโอเพื่อให้ผู้ใช้งานต่างชาติสามารถที่จะขอ multi-language audio เพื่อที่จะเข้าถึงเนื้อหาของคลิปวิดีโอได้ นอกจากนี้ยังจะมีการเพิ่ม descriptive audio สำหรับผู้ที่ตาบอดหรือผู้ที่มีความสามารถในการมองเห็นที่น้อยอีกด้วย โดยทางบริษัทมีแผนที่จะออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ได้กล่าวมาในช่วงไตรมาสต่อไป

การเพิ่มระบบออโต้แคปชั่นเข้ามาสำหรับการถ่ายทอดสดนั้นก็คงจะทำให้เนื้อหาที่ได้ถูกเผยแพร่ใน YouTube มีการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นไม่เพียงแค่กับฐานคนดูในประเทศเท่านั้นแต่ยังในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งก็จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ใช้งานหน้าใหม่ได้มีโอกาสเติบโตได้ง่ายมากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องรอให้ YouTube นั้นสนับสนุนหรือมีการเพิ่มภาษาเข้าไปให้มากขึ้น เพราะว่าในปัจจุบันนี้ YouTube ก็ไม่ได้รองรับภาษาทุก ๆ ภาษาแต่จะลองรับภาษาสากลเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ, ญี่ปุ่น, อิตาลี, เกาหลีและอื่น ๆ

ภาพจาก Pexels

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube แบนคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาปลอม

YouTube

YouTube แบนคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาปลอมเกี่ยวกับวัคซีน

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิดเริ่มแพร่กระจายและทั่วทั้งโลกเริ่มมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิดกันแล้ว ซึ่งหลาย ๆ คนก็ได้รับวัคซีนไปเป็นที่เรียบร้อยและอีกหลายๆ คนก็ยังไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากการแพร่กระจายของข้อมูลไม่ทั่วถึงรวมถึงข้อมูลบางข้อมูลยังเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริงอีกด้วยซึ่งในส่วนนี้กำลังอยู่ในช่วงของการแก้ไขและลดจำนวนข้อมูลที่เป็นเท็จให้ได้มากที่สุด

หนึ่งในช่องทางที่ใช้ในการแพร่กระจายของข้อมูลนั้นก็คือสื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือช่องทางอื่น ๆ ก็ตามที ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มที่ได้กล่าวมานั้นก็พยายามที่จะตรวจเช็คข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคโควิดและวัคซีนป้องกันโรคโควิดซึ่งส่วนหนึ่งมาจากคำเรียกร้องของรัฐบาลประเทศอเมริกาที่ต้องการให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนกันให้ได้มากที่สุดแต่ก็ดูเหมือนว่าการที่มีจำนวนข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกมามากมายนั้นทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมดและดูเหมือนว่าในตอนนี้นอกจาก Facebook, Twitter แล้ว YouTube ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งทุกอย่างนั้นก็เหมือนดั่งเช่น Facebook และ Twitter ข้อมูลที่ถูกแพร่กระจายออกไปเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดบน YouTube นั้นก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นข้อมูลเท็จ

โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (29 กันยายน 2564) ทาง YouTube ได้ออกมาประกาศว่า “พวกเขาไม่อนุญาตให้ลงคลิปคลิปวิดีโอที่มีการบอกข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่ได้รับการอนุมัติเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นอันตรายหรือมีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงพอ ซึ่งนอกจากจะระงับคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ข้อมูลประเภทดังกล่าวแล้ว ทาง YouTube ก็จะดำเนินการระงับบัญชีผู้ใช้งานที่ทำการเผยแพร่ข้อมูลด้วย ซึ่งทาง YouTube นั้นได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับการลดจำนวนคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมาและได้มีการเพิ่มนโยบายใหม่เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคถูกเผยแพร่ไปบนแพลตฟอร์ม

อย่างไรก็ตามทาง YouTube ยังสามารถให้ผู้ใช้งานทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการแบ่งปันประสบการณ์การฉีดวัคซีนได้ แต่ไม่อนุญาตให้โปรโมทข้อมูลวัคซีนที่ผิดพลาดเด็ดขาด ซึ่งจากสิ่งที่ YouTube ทำแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ก็ทำด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดและไม่กลัวที่จะเดินทางไปฉีดวัคซีน เพราะว่าวัคซีนถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การแพร่ระบาดของโรคโควิดลดน้อยลงรวมไปถึงอาการเมื่อติดเชื้อก็จะลดความรุนแรงลงด้วยเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังทำให้สื่อสังคมออนไลน์นั้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Tiktok มีค่าเฉลี่ยเวลาเข้าชมแซงหน้า YouTube

Tiktok

Tiktok เริ่มเป็นที่รู้จักก็ใช้เวลาเพียงแค่ไม่นานในการขึ้นเป็นแอปพลิเคชันระดับโลก

YouTube ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มประเภทคลิปวิดีโอที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อมีเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งยอมรับว่าในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกลับ YouTube มากกว่าทีวีเสียอีก นอกจากจะสร้างความบันเทิงได้แล้ว YouTube ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์มากมายอีกด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีในใหม่จะเข้ามาตอนนี้ YouTube มีคู่แข่งเป็น Tiktok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นที่พัฒนาจากบริษัท Bytedance ในประเทศจีน

หลังจากที่ Tiktok เริ่มเป็นที่รู้จักก็ใช้เวลาเพียงแค่ไม่นานในการขึ้นเป็นแอปพลิเคชันระดับโลก และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดตอนนี้แอปพลิเคชัน Tiktok นั้นมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการรับชมมากกว่า YouTube เสียแล้วโดยเป็นการยืนยันข้อมูลจาก App Annie บริษัท Monitor Application ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นการคำนวณจากผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และยังไม่ได้รวมเข้ากับผู้ใช้งานในประเทศจีนที่ Tiktok นั้นมีชื่อว่า Douyin แต่ถึงแม้ว่าในตอนนี้ Tiktok จะมีระยะเวลาการรับชมโดยเฉลี่ยมากกว่า YouTube แต่ทาง YouTube ก็ยังสามารถทำผลงานของตนเองได้ดีอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

YouTube นั้นมีผู้เข้ามาใช้บริการรายเดือนสูงถึง 2,000 ล้านบัญชีเลยทีเดียว สำหรับ Tiktok ในช่วงกลางปี 2020 มีผู้ใช้งานสูงถึง 700 ล้าน นั่นก็ยังหมายความว่าทาง YouTube นั้นยังมีระยะเวลาการเข้าชมโดยรวมมากกว่า Tiktok

แต่การที่ Tiktok นั้นมีระยะเวลาค่าเฉลี่ยในการเข้ารับชมสูงกว่า YouTube โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักรก็เป็นตัวบ่งบอกได้แล้วว่าติดตอบนั้นก็กลายเป็นสื่อสังคมออนไลน์ประเภทคลิปวิดีโอสั้นที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้เลยทีเดียว โดยในเดือนกรกฎาคมปี 2020 ในประเทศสหราชอาณาจักร Tiktok สามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 แซงหน้า YouTube ได้ และในประเทศสหรัฐอเมริกา Tiktok และ YouTube นั้นผลัดกันเป็นอันดับที่ 1 แต่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Tiktok ก็สามารถขึ้นเป็นอันดับที่ 1 เหลือ YouTube ได้ในที่สุด

ถึงแม้ว่าทาง Tiktok จะเป็นคู่แข่งของ YouTube  ในเรื่องของระยะเวลาการเข้าชมก็ตามทีแต่ว่าเนื้อหาที่อยู่บนทั้ง 2 แพลตฟอร์มนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยใน tiktok เป็นเพียงแค่คลิปวีดีโอสั้น ๆความยาวไม่เกิน 3 นาทีแต่ว่าใน YouTube นั้นเป็นเนื้อหาคลิปวีดีโอที่มีความยาวมากกว่า ทำให้ทั้งสองแพลตฟอร์มมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปและถึงแม้ว่า YouTube จะมีฟีเจอร์ YouTube Short ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีการทำงานในลักษณะเดียวกันกับ Tiktok ก็ตามทีแต่ก็ต้องยอมรับว่า Tiktok ยังคงได้เปรียบในส่วนนี้อยู่

ในอนาคตทั้งสองแพลตฟอร์มคงจะเป็นคู่แข่งกันอย่างแน่นอนเลยทีเดียวในเรื่องของผู้เข้าชมและเวลาการรับชมและต้องมีการอัปเดตแพลตฟอร์มของตนเองให้มีอะไรแปลกใหม่มากขึ้นเพื่อดึงดูดผู้ใช้งานอย่างแน่นอน

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก BBC

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Google ทดสอบฟีเจอร์ Comment Translation

Google

Google ได้มีการทดสอบระบบใหม่บนแอป YouTube ของระบบปฏิบัติการ iOS และ Android โดยมีการใช้งานสำหรับผู้ที่ใช้งาน YouTube Premium โดยจะมีการทดสอบจนถึงวันที่ 9 กันยายน

ในปัจจุบันนี้บน YouTube นั้นมีเนื้อหาคลิปที่หลากหลายเป็นอย่างมากและที่สำคัญมีหลากหลายประเทศและบางครั้งเราก็ไม่ได้รับชมเพียงแค่เนื้อหาของประเทศลาวเพียงเท่านั้นบางครั้งเราก็ชมเนื้อหาจากต่างประเทศด้วยเช่นเดียวกันซึ่ง ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งภาษาต่างประเทศทำให้การเข้าไปคอมเมนต์หรือจะอ่านคอมเมนต์ต่างๆ ที่มีคนเขาเข้ามาเขียนไว้เป็นเรื่องที่ยากมากดังนั้น Comment Translation ก็จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ดีเลยทีเดียว

เมื่อระบบ Comment Translation พบว่ามีคอมเมนต์ที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของผู้ใช้งานระบบจะทำการแปลภาษาโดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถเข้าใจบริบทต่าง ๆ ได้ ซึ่งฟีเจอร์ใหม่นี้ที่จะเปิดให้ทดสอบกับผู้ที่ใช้งาน YouTube Premium นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ YouTube Experiment ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งาน YouTube Premium นั้นมีสิทธิ์ได้ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ก่อนผู้อื่น โดยผู้ใช้งานนั้นจะต้องเปิดใช้งาน opt-in สำหรับโปรแกรมทดลองเสียก่อน

เมื่อผู้ใช้งานนั้นสามารถเปิดใช้งาน opt-in สำหรับโปรแกรมทดลองได้แล้วให้ทำการปิดและเปิดแอปอีกรอบนึงหลังจากนั้นจะเห็นปุ่มแปลภาษา เช่นเดียวกันผู้ใช้งานสามารถแปลให้เป็นภาษาเดิมได้โดยกดที่ดูต้นฉบับ

อย่างไรก็ตามฟีเจอร์ Comment Translation ยังอยู่ในช่วงการทดสอบและยังไม่มีข้อมูลที่มากพอที่จะบอกได้ว่าฟีเจอร์นี้จะออกมาให้ผู้ใช้งานนั้นใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อใด

ในอนาคตกำแพงทางด้านภาษาก็จะเริ่มลดลงและคอนเทนต์ต่าง ๆ นั้นก็จะเริ่มเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นเพราะว่า YouTube นั้นได้มีการเห็นความสำคัญของทางด้านภาษาแล้วในปัจจุบันนี้ ในบางคลิปวิดีโอก็มี subtitle แปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถเข้าใจเนื้อหาของคอนเทนต์ได้มากขึ้น แน่นอนว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนที่ใช้ภาษาต่างกันนะสื่อสารกันได้เข้าใจกันมากขึ้น การที่คนเรานั้นสามารถฟังพูดอ่านเขียนได้มากกว่า 1 ภาษาถือว่าได้เปรียบแต่ว่าในปัจจุบันนี้ก็มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้กำแพงทางด้านภาษานั้นลดลงได้มากเลยทีเดียว และทำให้การเรียนภาษานั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้น 

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Gadgetsnow

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com

เมื่อ Tiktok มีคู่แข่งเป็น YouTube

tiktok

ในโลกของอินเทอร์เน็ตมีคอนเทนท์มากมายให้เรานั้นได้เลือกที่จะเสพไม่ว่าจะเป็นคอนเทนท์ประเภทบทความหรือคลิปวิดีโอ โดยแต่ละคอนเทนท์ก็จะมีแต่แหล่งรวบรวม ที่ต่างกันออกไป ถ้าเป็นคอนเทนท์ประเภทข่าวสารหรือบทความ Facebook และ Twitter ก็ถือว่าเป็นหนึ่งแหล่งรวบรวมข่าวสารและบทความที่รวดเร็วที่สุด สำหรับคลิปวิดีโอก็ต้องเป็น YouTube และถ้าเป็นคลิปวิดีโอสั้นก็คงจะหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Tiktok แต่ทว่าอีกไม่นาน TikTok นั้นก็จะมีคู่แข่งเสียแล้ว

คู่แข่งนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น YouTube นั่นเอง แพลตฟอร์มที่ได้ชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอัปโหลดและสร้างสรรค์คลิปวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทางผู้พัฒนากำลังที่จะพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า YouTube Short ฟีเจอร์ที่ใช้สำหรับในการอัปโหลดคลิปวิดีโอสั้นที่มี ลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับแอปพลิเคชัน TikTok แทบจะทุกประการตัวอย่างเช่น

•ผู้ใช้งานจะสามารถอัพโหลดคลิปวิดีโอที่มีความยาวได้ไม่เกิน 15 วินาที

•มีโปรแกรม ไว้ช่วยในการตัดต่อวิดีโอ

• สามารถนำเพลงจาก YouTube Library มาใช้ในคลิปวิดีโอได้

• สามารถตั้งเวลา รวมไปถึงเพิ่มและลดความเร็วให้กับคลิปวิดีโอได้

โดย YouTube Short ได้เปิดให้บริการในประเทศอินเดียเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา และในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันนั้นยอดผู้ใช้ก็พุ่งขึ้นเป็นสามเท่า ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ประเทศอินเดียได้มีการระงับการใช้งานแอปพลิเคชันอย่าง TikTok นั่นเอง ในส่วนของประเทศอเมริกาทางแอปพลิเคชันนั้นจะเปิดให้บริการในช่วงเดือนมีนาคมนี้

นอกจากYouTube Short จะเป็นแหล่งที่ใช้ในการสร้างสรรค์คลิปวิดีโอสั้น ๆ ยังสามารถสร้างรายได้จากการที่มียอดผู้รับชมได้อีกด้วย แต่ก็ต้องมีการเชื่อมต่อกับ YouTube พาร์ทเนอร์เสียก่อน สำหรับ YouTube ที่เป็นแหล่งรวบรวมคอนเทนท์ประเภทคลิปวิดีโอไว้มากมายและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จำนวนมาก การที่มีระบบที่ใหม่เข้ามาก็คงจะดึงดูดให้คนสนใจที่จะหันมาใช้แอปพลิเคชันอย่าง YouTube เพิ่มขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามต้องติดตามดูกันว่าระบบคลิปวิดีโอสั้นหรือ YouTube Short ที่กำลังจะเปิดให้บริการนี้ จะสามารถสู้กับความนิยมของแอปพลิเคชัน TikTok ได้หรือไม่ 

 #YouTube #Tiktok #ทันโลกit #getup-it.com

ข้อมูลจาก CNN