YouTube ลบโฆษณาที่เกี่ยวกับอบายมุข

YouTube

บนโลกออนไลน์ถือว่าเป็นโลกที่มีข่าวสารต่าง ๆ มากมายถูกบรรจุอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ บทความ รูปภาพ และอื่น ๆ และในบางเว็บไซต์ก็อนุญาตให้มีการโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นมากมายตัวอย่างเช่น Facebook และ YouTube ที่มักจะมีโฆษณาขึ้นมามากมายเลยทีเดียว

ซึ่งบางส่วนก็ช่วยในการโปรโมทสินค้าได้ดี แต่ว่าบางส่วนก็สามารถชักจูงให้ผู้ที่รับชมโฆษณานั้นหลงผิดได้เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่นโฆษณาการพนัน ยาเสพติด หรือว่าการเมือง สำหรับผู้ใหญ่ที่มีความคิดก็จะสามารถหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ได้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นก็เป็นช่วงวัยที่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมากเช่นเดียวกันสามารถเข้าถึงช่องทางต่าง ๆ ได้ และถ้าหากหลงผิดไปในเรื่องของอบายมุขแล้ว ก็คงจะกลับตัวได้ยากอย่างแน่นอน

เพื่อเป็นการป้องกันทาง YouTube จึงได้เริ่มทำการลบโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง สารเสพติด การพนัน โดยโฆษณาเหล่านี้จะเป็นโฆษณาที่แสดงอยู่บริเวณแบนเนอร์ด้านบนของเว็บไซต์ YouTube เพื่อทำให้ YouTube นั้นสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานได้นั่นเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ ตัวอย่างเช่นเรื่องการเมือง ในปี 2020 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้มีการเลือกตั้งอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ก็ใช้ช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ในการกระจายข่าว ทำการอื่น ๆ เพื่อสร้างความเชื่อให้กับประชาชนซึ่งก่อให้เกิดกการโต้เถียงกันในโลกโซเชียลมีเดียนั่นเอง 

สำหรับในเรื่องการเมืองตอนนี้ทาง YouTube ก็ได้พยายามพิจารณาว่าเรื่องไหนสามารถที่จะโฆษณาได้หรือว่าเรื่องไหนที่จะไม่สามารถโฆษณาได้อยู่ เช่นเดียวกัน YouTube พยายามที่จะกำจัดเนื้อหาต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องออกไปจากแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่นเนื้อหาของโรคโควิดที่มีความไม่ถูกต้อง และอาจจะมีการเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถรับรู้ได้หาข่าวที่ถูกต้อง และไม่วิตกกังวลมากไป 

การที่ YouTube ออกมาลบโฆษณาที่ส่งผลกระทบเชิงลบเช่นนี้คงทำให้ผู้ใช้งานในทุก ๆ วัยมีความปลอดภัยมากขึ้นจากการได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดหรือการถูกชักชวนไปในเรื่องที่ไม่ดี และคงจะทำให้ YouTube นั้นกลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากขึ้นแน่นอน

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com

YouTube ลบคลิปแสดงข้อมูลปลอม Covid-19

YouTube

ในตอนนี้การแพร่ระบาดของโรคไวรัส Covid-19 นั้นยังคงแพร่ระบาดอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ และในหลายประเทศก็กำลังมีมาตรการเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโลกไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนหรือว่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ตามที ซึ่งผู้คนจำนวนมากก็สามารถรับรู้ข่าวเกี่ยวกับโรค Covid-19 ได้ผ่านจากช่องทางต่างๆ ตามสื่อสังคมออนไลน์ แต่ว่าในโลกของสื่อสังคมออนไลน์นั้นก็ไม่ได้มีข่าวที่มีความเป็นจริงเสมอไป บางครั้งก็มีเนื้อหาที่เป็นเนื้อหาปลอมถูกสร้างขึ้นมาและอาจจะสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ติดตามเนื้อหาก็เป็นได้

โดยล่าสุดทาง YouTube ก็ได้มีการลบคลิปวิดีโอโปรโมทวัคซีนของ Ron Johnson (นักการเมืองวิสคอนซีลของประเทศสหรัฐอเมริกา) โดยเขามีการพูดโปรโมทวัคซีน 2 ตัวคือ Hydroxychloroquine และ Ivermectin ว่าสามารถใช้ในการป้องกันโรค Covid-19 ได้ แต่ว่าวัคซีน 2 ตัวนี้ไม่ได้รับการรองรับประสิทธิภาพนั่นเอง ทำให้ทาง YouTube จำเป็นที่จะต้องลบคลิปวิดีโอนี้ออกไปตามนโยบายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการแพทย์ของโรค Covid-19 ที่ไม่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดกับประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง 

นอกจากคลิปวิดีโอดังกล่าวแล้วนับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมของปี 2021 มาทาง YouTube ได้ทำการลบคลิปที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค Covid-19 ไปมากกว่า 500,000 คลิปวิดีโอเลยทีเดียวหลังจากได้มีการแบนเกี่ยวกับเนื้อหาวัคซีนที่ไม่ถูกต้องไปเมื่อเดือนตุลาคมและได้มีการบล็อกบางบัญชีที่มีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ YouTube ทำก็เพื่อป้องกันความสับสนของประชาชนภายในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่น ๆ ด้วย เนื่องจาก YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก การลบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปยังช่วยให้ไม่เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างอีกด้วย และยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพแล้วการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในเรื่องของการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 รวมถึงการรักษาอาจจะส่งผลถึงชีวิตของคนเลยก็เป็นได้

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในประเทศอเมริกาตอนนี้ก็ถือว่าผ่อนคลายไปได้เยอะแล้วหลังจากที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนและได้สิทธิพิเศษต่าง ๆ ภายในประเทศ ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น สามารถเข้าชมกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องใส่แมสค แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังใช้ชีวิตได้อย่างปกติและใส่แมสอยู่เช่นเดียวกัน

ข้อมูลจาก Cnet

ภาพจาก Canva

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com