พร้อมหรือไม่ Microsoft เปิดให้ลง Windows 11 ด้วยตัวเองฟรีๆ

Windows 11

พร้อมหรือไม่ Microsoft เปิดให้ลง Windows 11 ด้วยตัวเองฟรีๆ แม้ว่าจะเป็นเครื่องเก่าก็ตาม (1)

ในที่สุด Windows 11 ก็ได้เผยโฉมต่อผู้ใช้งานทั่วโลกที่สำคัญครั้งนี้ใครที่มี Windows 10 ก็สามารถอัพเกรดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และสามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วยการทำ Windows update.

ยิ่งไปกว่านั้น Microsoft ประกาศว่าจะไม่บล็อกผู้ใช้ ไม่ให้ลง Windows ใหม่ที่เป็นเวอร์ชั่น 11 นี้แม้ว่าจะมาจากเครื่อง PC สุดโบราณแค่ไหน 

แน่นอนว่าเหมือนกับโปรแกรมใหม่ๆทั้งหลาย Microsoft ผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายนี้ได้ให้คำแนะนำว่าไว้แล้วว่ามาตรฐานฮาร์ดแวร์ที่ต้องการนั้นมีอะไรบ้าง

และบอกว่าผู้ใช้ Windows 10 แต่ละคนที่ต้องพิจารณาความเหมาะสมของคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองนั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลง Windows 10 แต่อาจจะไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำในขั้นตอนการทดสอบ (ซึ่งแต่ละคนสามารถตรวจสอบได้เองจากแอพพลิเคชั่นของ Microsoft จะกล่าวถึงในตอนท้าย)

ซึ่งแปลว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่เหมาะสมในการอัพเกรด แต่ก็ยังอยากที่จะทดลองใช้ Windows 11 ผู้ใช้ก็สามารถที่จะดาวน์โหลดไฟล์ ISO ที่ใช้อัพเกรดระบบปฏิบัติการชุดนี้ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft แล้วลง Windows 11 ด้วยแบบแมนนวลด้วยตัวเองได้โดยตรง 

รุ่นของ CPU Processor ที่แนะนำจาก Microsoft ได้ประกาศในเว็บไซค์ของตนเองอย่างเป็นทางการตั้งแต่ในเดือนมิถุนายน  แนะนำไว้อย่างชัดเจนว่า CPU processor ของ Intel ตั้งแต่ รุ่น generation 8th ขึ้นไปจึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งได้แต่ ตระกูล core i3, core i5, core i7 (อย่างไรก็ดีคุณสามารถเช็ครุ่นทั้งหมดได้ที่ link นี้ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-hardware/design/minimum/supported/windows-11-supported-intel-processors )

Microsoft เพิ่มเติมอีกว่าการปล่อยให้อัพเกรด แบบให้ดาวน์โหลดได้เองนี้ ที่จริงมุ่งให้ความสะดวกกับกลุ่มที่ใช้งานในเชิงธุรกิจ ที่มีผู้ดูแล เป็นเจ้าหน้าที่ ไอทีโดยตรง 

ซึ่งผู้ใช้ในแต่ละองค์กรก็ต้องรับความเสี่ยงของตัวเองในการอัพเกรดระบบปฏิบัติการครั้งนี้ เนื่องจากว่าทาง Microsoft ไม่สามารถที่จะการันตี ว่า driver ต่างๆที่มีอยู่แล้วจะสามารถ เข้ากันได้ กับ Windows 11 ได้ทุกประการ จึงไม่สามารถการันตีได้ว่า หลังจากอัพเดทแล้วระบบปฏิบัติการจะ มีความเสถียร (แต่ก็นั่นแหละก็เพราะว่าแต่ละองค์กรจะมีไอทีช่วยดูแลอยู่แล้ว) 

Microsoft ยังได้เพิ่มเติมอีกว่า ไม่ได้แนะนำให้ผู้ใช้งานในบ้าน ใช้วิธีการ ดาวน์โหลดและลงด้วยตัวเองแบบนี้  ซึ่งการออกมาบอกในตอนนี้นั้นเกิดขึ้นหลังจากสื่อทั่วโลกได้ตีข่าวให้กับประชาชนทั่วไปแล้วว่าสามารถดาวน์โหลด Windows 11 ได้ด้วยตัวเอง!

ที่ Microsoft ต้องออกมาบอกกับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมอย่างนี้ก็เพราะว่า ผู้ใช้ที่ดาวน์โหลด Windows 11 แล้วไปลงเองนั้น อาจจะไม่สามารถที่จะเข้าถึงชุดอัพเดทอัตโนมัติในภายหลัง หรือ แย่กว่านั้นคืออาจจะไม่สามารถเข้าถึงระบบรักษาความปลอดภัย ของ Windows (Window defender) ด้วย

ในทางเทคนิคแล้ว วิธีการให้ดาวน์โหลดเองไปดื้อๆอย่างนี้จะช่วยให้ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นล้านๆไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง 

แต่ในความเป็นจริงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็คงยังใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 

สาเหตุเพราะว่าเมื่อครั้งก่อนที่เปลี่ยนจาก Windows 8 มาเป็น Windows 10 นั้น ไม่ได้มีความแตกต่างมากในเรื่องความต้องการขั้นต่ำของฮาร์ดแวร์ในเครื่อง ทำให้คนส่วนใหญ่ก็เพียงอัพเกรดเป็น Windows 10 ก็จบ ทำให้ไม่มีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเกรดฮาร์ดแวร์มากมาย

อย่างไรก็เมื่อทำการทดสอบเครื่องแล้วอาจไม่ผ่าน ผู้ใช้ส่วนหนึ่งก็อาจจะเลือกที่จะไปดาวน์โหลดไฟล์ ISO file จากเว็บไซค์ของ Microsoft แล้วก็ ลง Windows 11 ด้วยตัวเอง 

แต่เอาเข้าจริงๆไม่ใช่ทุกคนจะทำเป็น ผู้ใช้ตามบ้านส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถที่จะทำเองได้ 

(ต่อ)

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Microsoft เปิดให้ลง Windows 11 ด้วยตัวเองฟรีๆ

Microsoft

พร้อมหรือไม่ Microsoft เปิดให้ลง Windows 11 ด้วยตัวเองฟรีๆ แม้ว่าจะเป็นเครื่องเก่าก็ตาม (2)

แม้ว่าคนส่วนใหญ่อาจจะทำการอัพเกรด Windows 10 เป็น Windows 11 ด้วยตัวเองไม่เป็นแต่สำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องพวกนี้  และมีความสุขกับการอัพเดทด้วยตัวเองอยู่แล้ว ก็ต้องทราบว่า สิ่งที่ Microsoft แนะนำมาตรฐานขั้นต่ำสุดที่เหมาะสม สำหรับบุคคลทั่วไปไว้ด้วย

Microsoft แนะสเปคขั้นต่ำของ Windows 11

  • CPU 1 GHZ 64-bit core 2 ขึ้นไป (แม้ว่าจะมีการระบุ CPU processor เอาไว้ข้างต้น แต่อันที่จริงไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับรุ่นของ CPU เท่าไหร่นัก)
  • RAM 4 GB (ถ้าให้ดีมีสัก 8 GB จะลื่นไหลกว่า)
  • Disc space 64 GB
  • สำหรับ CPU ตามที่บอกว่าเพียงให้ Spec ถึงก็พอแต่ก็มีเรื่องน่ารู้อยู่บ้างกันพลาด

    ตั้งแต่ที่ Microsoft ประกาศตัว CPU ที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่มิถุนายน พวกเขาทำงานควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาในการลง Windows 11 ของลูกค้ามาตลอด ด้วยการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อที่จะสามารถเพิ่มรุ่น CPU ที่สามารถรับรองได้แบบเป็นทางการ ล่าสุดมีการเพิ่ม แบบ Core X Series และ Xenon W Series เข้าไปรายการโปรเซสเซอร์ในเว็บไซค์แล้ว รวมไปถึง Intel Core i7 820 HQ ที่อยู่ในเครื่อง Surface Studio 2 ด้วย โดยที่มาจากการทดสอบในแลปปฏิบัติการที่ Intel กับMicrosoft ทำงานด้วยกัน

    แต่สำหรับ Intel Core i7 820 HQ ในเครื่องอื่นๆสามารถใช้งานได้เมื่อมี โปรแกรม DHC ประกอบเท่านั้น (ซึ่ง DHC เป็นเหมือนโปรแกรมรวมไดรเวอร์ที่สนับสนุนการใช้งานโปรแกรมที่ผ่านการรับรองจาก Microsoft แล้ว) ซึ่งการมีโปรแกรมนี้ใน GPU Driver เป็นสิ่งที่ Microsoft ได้พยายามสนับสนุนให้ผู้ผลิตเครื่องPC และผู้ผลิต ฮาร์ดแวร์ นำไปใช้ในหลายปีที่ผ่านมา

    Zen series ของ AMD ไม่อยู่ในรายการรับรองอย่างเป็นทางการ

    Microsoft จะไม่รับรองการใช้งาน Windows 11 กับ CPU Zen series ของ AMD โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากได้รับการทดสอบ ไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้

    หลังจากวิเคราะห์อย่างละเอียดด้วยการทำงานด้วยกันระหว่าง AMD กับ Microsoft กลับ CPU Zen series ทั้งสองได้ข้อสรุป ตรงกัน ว่า ไม่สามารถ นำ AMD processor รุ่น Zen 1 ไม่อยู่ใน รายการ ที่ Windows 11 รับรองได้

    อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AMD processor ยังไม่ต้องตกใจคุณสามารถตรวจสอบได้ใน link นี้ เพื่อดูว่า Microsoft รับรอง AMD ตัวไหนบ้างที่ Microsoft ทดสอบและรับรองเอาไว้บ้าง (https://docs.microsoft.com/en-us/windows-hardware/design/minimum/supported/windows-11-supported-amd-processors )

    Microsoft ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ใช้ที่ใช้ CPU AMD รุ่นเก่า ว่าครื่องที่ไม่ผ่านมาตรฐานความต้องการขั้นต่ำ จะมีโอกาส 52 เปอร์เซ็นต์ที่ ระบบ kernel mode (การทำงานในส่วนของระบบปฏิบัติการ) จะสะดุด ส่วนเครื่องที่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำจะมีโอกาสที่ปฏิบัติการจะทำงานได้อย่างราบรื่นถึง  99.8%

    ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณด้วยโปรแกรมจาก Microsoft

    Microsoft มีโปรแกรม PC Health Check อยู่แล้วแต่ว่ายังไม่ครอบคลุมการตรวจสอบคอมพิวเตอร์กับความเข้ากันได้กับ Windows 11 หลังจากนี้ไมโครซอฟท์ก็จะปล่อย โปรแกรม PC Health check เวอร์ชั่นใหม่ที่สามารถใช้ร่วมกับ Intel CPU ได้ และจะให้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นว่าทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณถึงได้ไม่สามารถที่จะอัพเดทได้  และยังบอกผู้ใช้ Windows ให้รู้ว่ามีอะไรบ้างที่เป็น รายละเอียดของสิ่งที่ขาดหาย

    ดูเหมือนไม่พร้อมแต่ทำไมต้องปล่อย Windows 11

    Microsoft ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ที่ต้องกำหนดความต้องการขั้นต่ำของเครื่องที่จะลง Windows 11 อย่างชัดเจนแบบลงรายละเอียดของ  ไมโครโปรเซสเซอร์เพราะว่าต้องการเพิ่มขีดความสามารถความเข้ากันได้ของไดรเวอร์และเพิ่มขีดความสามารถ ในการรักษาความปลอดภัยของระบบ

    ในเรื่องที่การอัพเดทเวอร์ชั่นครั้งนี้มีผลให้ PC หลายล้านเครื่องต้องอยู่ในสถานะที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน (อย่าลืมว่าเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ใช้Windows 10 จะพบสถานการณ์ที่ Microsoft จะหยุดการสนับสนุนในการอัพเดททั้งหมด)

    Microsoft บอกว่าเพราะยังไงก็แล้วแต่ มันจะไม่มีช่วงเวลาที่เรียกว่าเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์อยู่แล้ว ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆแต่ว่า การแก้ปัญหาที่เหมาะสมก็ยังต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ Microsoft ทิ้งท้ายให้กับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างครั้งนี้

    ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
    เวปไซด์ getup-it.com