Instagram เปิดตัวฟีเจอร์ “Limit” ป้องกันการบูลลี่

Instagram

ในสังคมของอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่ผู้ใช้งานไม่มีตัวตนอยู่จริงซึ่งมันก็ยากที่จะควบคุม ทำให้อินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีปะปนกันไป และหนึ่งในสิ่งที่ไม่ดีนั้นก็คือการโจมตีกันบนโลกอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการบูลลี่หรือการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่และอาจจะทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกัน

โดย Instagram หนึ่งในแอปพลิเคชันคือ Facebook ได้มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า “Limit” ขึ้นมาโดยฟีเจอร์นี้จะสามารถอนุญาตให้ผู้ใช้งานนั้นปิด Comment ของผู้ที่ไม่ได้ติดตามหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มติดตามได้ เพื่อไม่ให้เจอข้อความที่เป็นการเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว หรือว่ามีการส่อว่าเป็นข้อความที่จะทำให้เกิดความเสียหาย โดยสามารถปิดกั้นได้ทางข้อความ และ Emoji อีกทั้งบริษัท Instagram ยังได้เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะ ปิดกั้นผู้ใช้งานคนอื่นที่อาจจะกระทำการดังกล่าวได้ด้วย โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ทั่วโลกโดยเข้าไปที่ Privacy Setting > Limit แล้วเปิดใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งแยกระหว่างผู้ที่ไม่ได้ติดตามและผู้ร่วมติดตามได้ด้วย โดยฟีเจอร์นี้จะทำงานจนกว่าผู้ใช้งานจะปิดการใช้งาน

ฟีเจอร์นี้ของ Instagram มีความจำเป็นอย่างมากหลังจากที่ฟุตบอลยูโร 2020 ได้จบลงและอังกฤษไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ผู้เล่นชาวอังกฤษหลายรายที่เป็นผิวสีได้ถูกโจมตีจากกลุ่มแฟนคลับโดยการเหยียดสีผิวซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับนักเตะ โดยนักเตะที่ได้ถูกโจมตีก็ออกมาเรียกร้องให้ทาง Social Media ต่าง ๆ นั้นช่วยกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นมาอีก ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทาง Instagram ก็ได้ขอโทษแล้วว่าระบบนั้นทำงานไม่ดีมากพอที่จะยับยั้งเรื่องราวดังกล่าว

ในปัจจุบันนี้ทุกๆ คนนั้นใช้สื่อสังคมออนไลน์แทบจะตลอดเวลาเลยทีเดียวและข่าวสารต่าง ๆ ก็ไหลผ่านให้เราเห็น บางครั้งก็อาจจะทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับการอ่านคอมเมนต์หรือว่าเรื่องราวต่าง ๆ มากนักดังนั้นการรักษาสุขภาพจิตสุขภาพใจถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้เล่นสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความสุขและหนึ่งในวิธีการที่จะทำให้เราสามารถรักษาสุขภาพจิตของเราได้ก็คือการปิดกั้นการรับรู้เรื่องราวที่แย่ ๆ ต่าง ๆ ออกไปและรับรู้แต่เรื่องราวดี ๆ ดังนั้นถ้าหากว่าเพื่อน ๆ ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำก็ควรที่จะกำหนดเนื้อหาในการรับชมเพื่อที่จะไม่ทำให้การเข้าใช้งานนั้นมีความเคร่งเครียดมากเกินไป

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก BBC , Mashable

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com

เมื่อบัญชีของ Linkedin ถูกมือดีแฮกเอาไปขาย

Linkedin

Linkedin เป็น Social Networkประเภทหนึ่งที่ใช้ในงานทางด้านการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพฟรีแลนซ์ การหาอาชีพเสริม รวมไปถึงการที่นายจ้างต้องการที่จะหาลูกจ้างเพื่อจะทำงานเป็นชิ้น โดยผู้ที่สมัครเข้าไปในเว็บไซต์หรือ Application ของ Linkedin จะต้องใส่ข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่อีเมลที่ใช้ในการติดต่อรวมไปถึงประสบการณ์การทำงานและผลงานให้เหมาะสมกับงานที่อยากทำ และเพื่อให้นายจ้างสามารถประเมินได้ว่าถ้าหากว่าจ้างไปแล้วจะสามารถทำงานได้สำเร็จตามที่มอบหมายไว้หรือไม่

สำหรับบัญชีผู้ใช้ของ Linkedin ในปัจจุบันนี้มีอยู่ที่ 675 ล้านบัญชีทั่วโลกอ้างอิงจากเว็บไซต์ แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อมีมือดีนั้นหากนำเอาข้อมูลของบัญชีผู้ใช้งานในเว็บไซต์ Linkedin นั้นไปขายเป็นจำนวน 500 ล้านบัญชีเรียกว่าเป็น3 ส่วนของบัญชีทั้งหมดที่มีอยู่เลยทีเดียว ซึ่งทางเว็บไซต์ Linkedin ก็มีเครื่องมือที่ใช้ป้องกันอยู่แล้วแต่ว่าเครื่องมือตัวนั้นยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร การที่ข้อมูลรั่วไหลในครั้งนี้ก็คงจะส่งผลเสียต่อ Linkedin และยังส่งผลเสียต่อบัญชีผู้ใช้ที่ข้อมูลรั่วไหลอีกด้วยเช่นเดียวกัน แต่ว่าอย่างไรก็ตาม Linkedin ก็จะส่งข้อความเตือนไปยังบัญชีผู้ใช้ที่ถูกแฮกข้อมูลไปและที่ถูกนำข้อมูลไปขายเพื่อรับผิดชอบต่อลูกค้าของตนเอง

เหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลในโลกของ Social Mediaในช่วงนี้ถือว่าเกิดขึ้นถี่มาก ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ได้มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องของ Facebook ที่ข้อมูลรั่วไหลออกมา ซึ่งบัญชีส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปและในตอนนี้ทาง Facebook ก็ยังไม่ได้มีการส่งแจ้งเตือนไปให้กับบัญชีที่มีข้อมูลรั่วไหลออกมาเลยทีเดียว ตอนนี้ผู้ใช้บริการต่างต้องพึ่งพาตัวเองเพื่อที่จะตรวจสอบว่าข้อมูลของตนเองนั้นได้รั่วไหลออกมาหรือไม่ 

ผ่านจากเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลของ Facebook เพียงไม่กี่วันก็เกิดขึ้นกับ Linkedin ไม่แน่ในอนาคตอาจจะมีข้อมูลรั่วไหลจากบริษัทอื่น ๆ อีก คราวนี้ก็ต้องมาดูว่าบริษัทหลาย ๆ บริษัทที่เป็นบริษัทที่มีข้อมูลของผู้คนจำนวนมากอยู่จะหาทางป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลอย่างไร เพราะถ้าข้อมูลที่ถูกปล่อยออกไปไม่ว่าจะเป็นชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, อายุหรืออื่น ๆ ถ้าหากถูกนำไปใช้ในทางที่เสียหายแล้ว ผู้ที่เสียหายที่สุดอาจจะไม่ใช่บริษัทที่ถูกทำให้ข้อมูลรั่วไหลแต่จะเป็นผู้ใช้บริการ

#Linkedin #แฮก #SocialMedia #ทันโลกit  #getup-it.com

ข้อมูลจาก CNN