Meta ปรับใหม่ เด็กอายุ 10 ขวบก็ใช้งานแว่น VR ได้แล้ว

Meta ปรับใหม่ เด็กอายุ 10 ขวบก็ใช้งานแว่น VR ได้แล้ว

โดยปกติแล้วสื่อสังคมออนไลน์ที่เราใช้งานกันเป็นประจำอย่างเช่น Facebook และ Instagram ที่อยู่ในการดูแลของบริษัท Meta จะมีการจำกัดอายุในการใช้งานไม่ต่ำกว่า 13 ปี เพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนแต่ว่าเป็นที่รู้ ๆ กันว่ามีเด็กจำนวนมากมายที่ได้มีการเปลี่ยนข้อมูลอายุเพื่อเข้ามาใช้งาน สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงกับเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้นทางบริษัท Meta จึงพยายามที่จะพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามหรือผลกระทบในด้านลบกับเด็กและเยาวชนที่มาใช้งาน

ภาพ Meta Quest

นอกจากสื่อสังคมออนไลน์โดยทั่วไปแล้วบริษัท Meta ได้มีการพัฒนาโลกเสมือนจริงหรือ Metaverse ด้วยโดยใช้เทคโนโลยี VR ผ่านแว่นตาที่มีชื่อว่า Meta Quest และเช่นเดียวกับ Facebook การใช้งานแว่นตา Meta Quest ก็มีการจำกัดอายุอยู่ที่ 13 ปีเช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่าบริษัท Meta จะมีการปรับใหม่ให้มีการจำกัดอายุอยู่เพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น โดยข้อบังคับใหม่นี้ใช้กับบัญชี Meta Quest 2 และ Meta Quest 3 โดย Meta ให้เหตุผลว่าบริษัทรู้ว่าเด็กต้องการที่จะใช้งานแว่นตา VR ของพวกเขา พวกเราจะให้พวกเขาได้ใช้งานแต่จะมีการจำกัดการเข้าถึงของพวกเขาดีกว่าให้พวกเขามาใช้ข้อมูลอายุปลอมในการเข้าเล่น

ภาพ Meta Quest

เมื่อเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 10 – 12 ปีได้มีการสร้างโปรไฟล์ Meta Quest ขึ้นมาระบบ จะเปลี่ยนให้โปรไฟล์ของพวกเขาเป็นโปรไฟล์ส่วนตัวตั้งแต่เริ่มต้น และจะจำกัดแอปพลิเคชันให้พวกเขาได้ใช้งาน โดยการสมัครเพื่อสร้างบัญชีเพื่อใช้งานแว่นตา Meta Quest เด็กและเยาวชนเหล่านี้ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ปกครอง รวมถึงผู้ปกครองของเด็กจะเป็นคนเดียวที่สามารถที่จะปิดระบบความปลอดภัยได้ ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไรเมื่อสวมแว่นตา VR ของ Meta เด็ก ๆ ก็จะอยู่ในการควบคุมดูแลของผู้ปกครองอยู่อย่างเสมอ แต่อย่างไรก็ตามเยาวชนที่มีอายุ 10-12 ปีจะยังไม่สามารถเข้าใช้งาน Horizon Worlds ได้ แต่ก็ต้องดูต่อไปว่าในอนาคตบริษัท Meta จะมีการปรับเปลี่ยนให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีเข้าใช้งาน Horizon Worlds หรือไม่ สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการจะซื้อแว่นตา Meta Quest ให้ลูกเล่นสามารถดูรายละเอียดในการดูแลการเข้าถึงการใช้งานได้ที่ Meta

ข้อมูลจาก The Verge

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook 

บริษัท Meta จะปลดแบนบัญชีโดนัลด์ ทรัมป์

บริษัท Meta จะปลดแบนบัญชีโดนัลด์ ทรัมป์

หลังจากที่ถูกระงับการใช้งานมาเป็นเวลากว่า 2 ปี

โดนัลด์ ทรัมป์อดีตประธานาธิบดีมีผู้ติดตามบน Facebook กว่า 34 ล้านคนและมีผู้ติดตามบน Instagram กว่า 23 ล้านคน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในช่วงการหาเสียงเพื่อเลือกตั้ง และโดนัลด์ ทรัมป์ก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเขาในการหาเสียงรวมไปถึงการแชร์ข่าวสารต่าง ๆ แต่ตัวของเขาก็ได้มีการโพสต์คอนเทนต์ที่มีเนื้อหารุนแรง และทำให้เกิดการจลาจลในช่วงนั้นทำให้ทาง Facebook และ Instagram ระงับการใช้งานบัญชีของเขาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมไปถึง Twitter ก็มีการระงับบัญชีของอดีตประธานาธิบดีคนนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

ภาพ wallpapercave

ในช่วงเวลาที่โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ได้เล่นสื่อสังคมออนไลน์ เขาก็ได้สร้างเว็บไซต์ของตนเองขึ้นมารวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่มของตนเองด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้คนที่ยังสนับสนุนเขาสามารถเข้าไปติดตามข่าวสารต่าง ๆ และการทำงานของเขาได้ การที่เขาสามารถกลับมาใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้ในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะว่าประเทศสหรัฐอเมริกากำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งอีกครั้งในอีก 1-2 ปีข้างหน้านี้ เขาสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือว่า Twitter ที่ได้มีการปลดแบนบัญชีตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วมาใช้ในการหาเสียงได้ แล้วถ้าหากโดนัลด์ ทรัมป์ใช้ Facebook หรือ Instagram ในการโพสต์เนื้อหาที่มีความรุนแรง ก็จะถูกระบบของทางสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ลบโพสต์ด้วยทันที และบัญชีของโดนัลด์ ทรัมป์ก็จะถูกระงับการใช้งานอีก 1 เดือนถึง 2 ปี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเนื้อหา

ภาพ wallpapercave

ปัจจุบันโดนัลด์ ทรัมป์ใช้ Truth Social ในการกระจายข่าวสารและพูดคุยกับผู้ติดตามโดยตัวเขามียอดผู้ติดตามถึง 4.8 ล้านคนในนั้น ซึ่งน้อยกว่าสื่อสังคมออนไลน์ที่เขาเคยใช้ก่อนหน้านี้อยู่หลายเท่า ถึงแม้ว่าเขาจะบอกว่าจะไม่มีการกลับมาใช้ Facebook Instagram หรือว่า Twitter อีกแล้ว แต่ก็มีความเป็นไปได้อยู่เช่นเดียวกันเพราะในช่วงเลือกตั้งคะแนนเสียงและการกระจายข่าวสารต่างๆ ไปให้ได้มากที่สุดเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นการใช้แพลตฟอร์มที่มีผู้ติดตามมากกว่าก็เป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งได้

ข้อมูลจาก Reuters, Cnet

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

WhatsApp ปิดสถานะออนไลน์ เพิ่มความเป็นส่วนตัว

WhatsApp ปิดสถานะออนไลน์ เพิ่มความเป็นส่วนตัว

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หรือแอปแชท สิ่งที่หายไปเลยก็คือความเป็นส่วนตัว ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ตลอดเวลา สามารถรับรู้เรื่องราวของกันและกันได้จากหน้าฟีต สามารถละเมิดความเป็นส่วนตัวได้ดูวิธีต่าง ๆ นานา ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์รวมไปถึงแอปแชท ได้มีความพยายามที่จะเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานมาโดยตลอด โดยการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่หรือปรับเปลี่ยนนโยบายในการใช้งาน ซึ่ง WhatsApp ก็ได้มีการเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งาน

WhatsApp อัปเดตความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (วันพุธตามเวลาในประเทศไทย) WhatsApp ได้มีการประกาศเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวในการใช้งานแอปได้มากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถที่จะอ่านข้อความของคู่สนทนาได้โดยไม่แสดงสถานะการอ่านข้อความ สามารถปิดสถานะออนไลน์ของตนได้ตามที่ต้องการถึงแม้จะมีการใช้งานอยู่ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อทำการออกจากกลุ่มสนทนาจะไม่มีการแจ้งเตือนว่ามีผู้ใช้งานออกจากกลุ่ม สุดท้ายก็คือผู้ใช้งานจะไม่สามารถ screenshot บทสนทนาได้ ซึ่งฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวที่ได้กล่าวมาจะถูกอัปเดตลงแอปภายในเดือนนี้

ภาพ Pexels

WhatsApp เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ระบบ E2E (End to End Encryption) ซึ่งระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้งานที่เป็นคู่สนทนาเท่านั้นที่จะเห็นข้อความ แล้วเหมือนกับแอปพลิเคชันอื่น ผู้ใช้งานสามารถตั้งเวลาแสดงข้อความได้โดยเมื่อเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้อความก็จะหายไป ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา Meta บริษัทแม่ของทาง WhatsApp ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ซึ่งก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการอัปเดตความเป็นส่วนตัวในครั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานรวมไปถึงเพื่อปกป้องชื่อเสียงของบริษัทด้วย

ภาพ Pexels

ความตั้งใจของ Mark Zuckerberg

Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของบริษัท Meta ต้องการให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม WhatsApp ต้องการให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้งาน โดยพยายามที่จะหาทางปกป้องข้อความของคู่สนทนาเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานรวมไปถึงความปลอดภัยให้เหมือนกับการพูดคุยเเบบพบปะกัน

ในตอนนี้สำหรับบริษัท Meta และ Mark Zuckerberg นอกจากจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้กับผู้ใช้งาน สิ่งสำคัญเลยก็คือความปลอดภัยของข้อมูล เพราะว่าข้อมูลในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงมากเพราะมันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นยิ่งเป็นบริษัทที่มีลูกค้ามากเท่าใดความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลของลูกค้าก็ต้องมากขึ้นเท่านั้น

ภาพ Pexels

การเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน WhatsApp ในครั้งนี้ต้องคอยติดตามดูว่าผลตอบรับจากผู้ใช้งานจะเป็นเช่นไร ถ้าหากได้รับผลตอบรับที่ดีจะมีการพัฒนาระบบให้ดีมากขึ้นต่อไปหรือไม่ และถ้าหากได้รับผลในทางที่ไม่ดีจะมีการแก้ไขอย่างไร

ข้อมูลจาก CNN

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบและอยากจะทำกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียวหลายคนมีเพจของตัวเอง หลายคนมีช่องบน Youtube เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของคลิปวิดีโอ รูปภาพ บทความ และอื่น ๆ หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จจนมีรายได้ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยเทรนด์นี้ที่กำลังมาแรงทำให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางในการสนับสนุนให้กับ

กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นให้เงินสนับสนุนถ้าหากทำตามเกณฑ์ที่แพลตฟอร์มวางไว้ หรือเพิ่มช่องทางให้ผู้ติดตามสามารถสนับสนุนได้ ตัวอย่างเช่น Tip Jar ของ Twitter หรือ หรือการส่งดาวใน Facebook Live ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้ด้วย หรือแม้กระทั่งใน OnlyFans ที่ผู้ที่ต้องการจะเข้าไปติดตามเนื้อหาต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินสนับสนุนผู้สร้างเนื้อหานั้น ซึ่ง Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังพัฒนาระบบสนับสนุนให้กับเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ภาพจาก Cnet

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions ซึ่งผู้ที่เป็นครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากแฟนคลับได้โดยแฟนคลับที่จ่ายเงินให้กลุ่มคนที่เป็นครีเอเตอร์ก็จะได้เข้าถึงเนื้อหาสุดพิเศษของครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Instagram ได้นั่นเอง จะเป็นการถ่ายทอดสดสุด Exclusive การลงสตอรี่สุดพิเศษ การทำโพล หรือคลิปเบื้องหลัง และเนื้อหาอื่น ๆ

ซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ครีเอเตอร์และกลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกันได้มากขึ้นนั่นเองโดยผู้ติดตามสามารถเลือกจ่ายเงินสนับสนุนครีเอเตอร์ได้ตั้งแต่ราคา 99 เซน จนถึง 99 ดอลลาร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปิดทดลองใช้ในประเทศอเมริกา โดยมีการทดลองใช้กับครีเอเตอร์จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อรับ feedback หรือคำแนะนำจากผู้ใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใดต้องปรับปรุงในจุดไหนบ้างก่อนที่จะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการนั้นเอง บริษัท Meta ก็ได้มีการประกาศออกมาด้วยว่าสำหรับผู้ที่มีการซื้อ Subscriptions จะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจนถึงปี 2023 เลยทีเดียว

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ภาพจาก Pixabay

นับว่าเป็นข่าวดีอีกหนึ่งข่าวเลยก็ว่าได้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการสร้างคอนเทนต์ การมีช่องทางเพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสให้มีมากขึ้นนั่นเอง และในทุก platform ก็จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบางคนอาจจะถนัดเขียนเป็นบทความก็อาจจะใช้ Facebook บางคนชอบทำคลิปเป็นคลิปยาว ๆ ก็อาจจะใช้ YouTube หรือถ้าบางคนชอบนี้หาสั้นๆ กระชับได้ใจความอาจจะเป็นคลิปหรือเป็นข้อความสั้น ๆ ก็อาจจะใช้งาน Twitter หรือ Instagram (ในอนาคต) ในการสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้มีคนเข้ามาติดตาม ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็อาจจะเป็นครั้งแรกได้หลักและรายได้เสริมให้กับผู้ทำได้เลย แต่ไม่ว่าอย่างไรการแข่งขันก็สูงมากด้วยเช่นเดียวกันต้องใช้ความพยายามและอุตสาหะเป็นอย่างมากในการที่จะประสบความสำเร็จในสายงานดังกล่าวนี้

Instagram ทดสอบฟีเจอร์

ภาพจาก Pixabay

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ข้อมูลจาก Cnet

ฟีเจอร์ใหม่ Facebook, Instagram

Facebook

ฟีเจอร์ใหม่ Facebook, Instagram สร้าง Avatar เป็นของตัวเอง

หลังจากที่ Facebook ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Meta ก็ได้เริ่มมีการขยับเขยื้อนในเรื่องของเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงมากขึ้นโดยเริ่มจากเทคโนโลยี VR และ AR และล่าสุดก็ได้มีการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงหรือ Metaverse เข้ามาสู่แอปพลิเคชันอย่าง, Facebook, Instagram และ Messenger

ซึ่งเทคโนโลยี Metaverse ที่นำมาใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ของ Meta เปิดให้ผู้ใช้งานได้สร้าง Avatar เป็นของตัวเอง โดยฟีเจอร์ดังกล่าวได้ถูกเพิ่มใน Oculus Quest 2 เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ว่าสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ Messenger นอกจากจะให้ผู้ใช้งานสร้าง Avatar เพื่อมาเป็นโปรไฟล์ ยังสามารถนำไปใช้เป็นสติ๊กเกอร์ได้อีกด้วย ซึ่งฟีเจอร์การสร้าง Avatar ก็มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับ Memoji ของ Apple ที่สามารถใช้ในการส่งข้อความผ่านแอปต่าง ๆ ได้

การประกาศอัปเดตฟีเจอร์การสร้าง Avatar เป็นการประกาศพร้อมกับการอัปเดตธีม Super Bowl การแข่งขันชิงแชมป์อเมริกันฟุตบอล NFL ของประเทศอเมริกานั้นเอง ซึ่งจะมีเสื้อ T shirt ของทีม Bengals หรือ Rams ที่แจกฟรีให้ตัวละครเสมือนจริงสามารถเลือกไปใส่ได้ แต่ว่าเสื้อ T shirt ดังกล่าวนี้จะสามารถใส่ได้จนถึงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เพียงเท่านั้น 

การสร้างตัวละครเสมือนจริงจะเริ่มมีการทดลองใช้ในประเทศแถบอเมริกาเหนือไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และ ประเทศเม็กซิโก หลังจากนั้นก็จะขยายพื้นที่การใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น 

ซึ่งการสร้างตัวละครโลกเสมือนจริงนี้ได้ถูกนำมาเป็นฟีเจอร์ใน Facebook ก่อนหน้านี้แล้วแต่การทําอนิเมชั่นในรูปแบบภาพ 3 มิติถือว่าเป็นเรื่องใหม่และฟีเจอร์ดังกล่าวก็จะมีการอัปเดตลงบน Instagram เป็นครั้งแรก ซึ่งการสร้างตัวละครแบบนี้ สามารถสร้างได้เพียงแค่ 1 ตัวต่อ 1 แอป เพียงเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่าเราอาจจะมีตัวละครใน Facebook เป็นตัวนึง ใน Instagram เป็นอีกตัวหนึ่งและใน Messenger เป็นอีกตัวหนึ่ง แต่ว่าสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสร้างตัวละครเยอะก็สามารถเชื่อมต่อตัวละครจากแอปหนึ่งไปสู่แอปหนึ่งได้เลย

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการอัปเดตของบริษัท Meta ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Metaverse ในอนาคตอาจจะมีการสร้างไอเทมต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิตอลให้ผู้ใช้งาน Avatar ได้ซื้อเพื่อมาสวมใส่ให้กับตัวละครที่ตัวเองได้สร้างขึ้น หรือว่าขายอุปกรณ์สวมใส่ที่ไม่ต้องการออกไป ซึ่งถึงแม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยมาแต่ว่าในความคิดของผู้เขียนอาจเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์สวมใส่ของ Avatar ที่จะมีการซื้อขายกันนั้นอาจจะเป็น NFTs เพราะ Facebook และ Instagram กำลังจะพัฒนาตลาด NFTs ของตัวเอง

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

Instagram

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions

ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบและอยากจะทำกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียวหลายคนมีเพจของตัวเอง หลายคนมีช่องบน Youtube เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของคลิปวิดีโอ รูปภาพ บทความ และอื่น ๆ หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จจนมีรายได้ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยเทรนด์นี้ที่กำลังมาแรงทำให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางในการสนับสนุนให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นให้เงินสนับสนุนถ้าหากทำตามเกณฑ์ที่แพลตฟอร์มวางไว้ หรือเพิ่มช่องทางให้ผู้ติดตามสามารถสนับสนุนได้ ตัวอย่างเช่น Tip Jar ของ Twitter หรือ หรือการส่งดาวใน Facebook Live ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้ด้วย หรือแม้กระทั่งใน OnlyFans ที่ผู้ที่ต้องการจะเข้าไปติดตามเนื้อหาต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินสนับสนุนผู้สร้างเนื้อหานั้น ซึ่ง Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังพัฒนาระบบสนับสนุนให้กับเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions ซึ่งผู้ที่เป็นครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากแฟนคลับได้โดยแฟนคลับที่จ่ายเงินให้กลุ่มคนที่เป็นครีเอเตอร์ก็จะได้เข้าถึงเนื้อหาสุดพิเศษของครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Instagram ได้นั่นเอง จะเป็นการถ่ายทอดสดสุด Exclusive การลงสตอรี่สุดพิเศษ การทำโพล หรือคลิปเบื้องหลัง และเนื้อหาอื่น ๆ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ครีเอเตอร์และกลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกันได้มากขึ้นนั่นเองโดยผู้ติดตามสามารถเลือกจ่ายเงินสนับสนุนครีเอเตอร์ได้ตั้งแต่ราคา 99 เซน จนถึง 99 ดอลลาร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปิดทดลองใช้ในประเทศอเมริกา โดยมีการทดลองใช้กับครีเอเตอร์จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อรับ feedback หรือคำแนะนำจากผู้ใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใดต้องปรับปรุงในจุดไหนบ้างก่อนที่จะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการนั้นเอง บริษัท Meta ก็ได้มีการประกาศออกมาด้วยว่าสำหรับผู้ที่มีการซื้อ Subscriptions จะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจนถึงปี 2023 เลยทีเดียว

นับว่าเป็นข่าวดีอีกหนึ่งข่าวเลยก็ว่าได้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการสร้างคอนเทนต์ การมีช่องทางเพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสให้มีมากขึ้นนั่นเอง และในทุก platform ก็จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบางคนอาจจะถนัดเขียนเป็นบทความก็อาจจะใช้ Facebook บางคนชอบทำคลิปเป็นคลิปยาว ๆ ก็อาจจะใช้ YouTube หรือถ้าบางคนชอบนี้หาสั้นๆ กระชับได้ใจความอาจจะเป็นคลิปหรือเป็นข้อความสั้น ๆ ก็อาจจะใช้งาน Twitter หรือ Instagram (ในอนาคต) ในการสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้มีคนเข้ามาติดตาม ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็อาจจะเป็นครั้งแรกได้หลักและรายได้เสริมให้กับผู้ทำได้เลย แต่ไม่ว่าอย่างไรการแข่งขันก็สูงมากด้วยเช่นเดียวกันต้องใช้ความพยายามและอุตสาหะเป็นอย่างมากในการที่จะประสบความสำเร็จในสายงานดังกล่าวนี้

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Instagram ยืนยันตัวบุคคลด้วยการเซลฟี่

Instagram

Instagram ได้มีการทดลองยืนยันตัวบุคคลด้วยการเซลฟี่ ตั้งแต่ในช่วงปีที่ผ่านมา

Instagram ได้มีการขอให้ผู้ใช้งานบางส่วนใช้วิธีการยืนยันตัวตนด้วยการถ่ายเซลฟี่ในหลาย ๆ มุม ซึ่งในปัจจุบันนี้ทาง Instagram ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับบัญชีใช้งานที่เป็นบอทซึ่งสร้างความไม่เป็นมิตรให้กับผู้ใช้งานรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสแปมข้อความ การส่งข้อความคุกคาม หรือใช้เพื่อในการดันผู้ติดตามและจำนวน like ซึ่งข้อมูลเนื้อเรื่องของการยืนยันตัวตนด้วยการถ่ายเซลฟี่นั้นได้ถูกเผยแพร่ในทวิตเตอร์ของ Matt Navarra ซึ่งในทวิตเตอร์ของเขานั้นได้มีการบอกไว้ด้วยว่าการถ่ายภาพเซลฟี่เพื่อเป็นการยืนยันตัวบุคคลนี้จะไม่มีการเก็บข้อมูลทางไบโอเมตริกซ์ 

การยืนยันตัวบุคคลด้วยใบหน้าที่ทาง Instagram ได้ทำขึ้นมานั้นได้มีการทดลองตั้งแต่ในช่วงปีที่ผ่านมาแต่ก็มีปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าจะกลับมาใช้งานอีกครั้งแต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่มีความแน่ชัดว่าการใช้การถ่ายรูปเซลฟี่ในมุมต่างๆ เพื่อเป็นการยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้งานนั้นเป็นการทดสอบฟีเจอร์หรือเป็นการค่อย ๆ นำออกมาใช้ทีทีละเล็กทีละน้อยกันแน่ ซึ่งทางบริษัท Meta ที่เป็นบริษัทแม่ก็ยังไม่ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย 

การที่บริษัท Meta ออกมาสัญญาว่าจะไม่มีการเก็บข้อมูลไบโอเมตริกผ่านการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้านี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและจะสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานรวมถึงความเป็นส่วนตัวด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ทางบริษัท Meta ก็ได้นำระบบจดจำใบหน้าที่อยู่ใน Facebook ออกด้วยเหตุผลทางความปลอดภัยหลังจากที่นำระบบนี้เข้ามาใส่ไว้ใน Facebook ตั้งแต่ในช่วงปี 2010 

ซึ่งการที่ออกมาปิดใช้งานระบบจดจำใบหน้าที่อยู่บน Facebook นั้นก็มีส่วนมาจากเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทาง Facebook ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อยุติคดี หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีการเก็บข้อมูลเชิงชีวภาพของผู้ใช้งาน ซึ่งไม่ได้รับความยินยอมนั้นเอง

การที่ Instagram ได้เปิดเผยว่าทางแอปพลิเคชันจะมีการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้านั้นสร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับใครหลาย ๆ คน แต่ก็ต้องรู้ว่าจะมีการเริ่มใช้งานจริงหรือไม่ในอนาคต แต่ Facebook ก็คงจะไม่เก็บข้อมูลชีวภาพตามที่ได้สัญญาไว้ 

ที่ผ่านมาทางบริษัท Facebook ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Meta กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม ซึ่งก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมดทั้งใน Facebook รวมไปถึง Instagram ซึ่งก็ไม่รู้ว่าในอนาคตจะมีการแก้ไขปัญหานี้หรือไม่เพราะทางบริษัทกำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี Metaverse

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยก็คือปัจจุบันนี้ข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่มีความเชื่อมโยงถึงกันการที่มีข้อมูลบางส่วนรั่วไหลก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบได้มากมายเลยทีเดียวดังนั้นเราก็ควรเก็บข้อมูลให้ปลอดภัยให้ได้มากที่สุด

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก The Verge, The Standard

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Facebook จ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Live Audio

Facebook

Facebook Live Audio เป็นฟีเจอร์ที่ทาง Facebook ออกมาในช่วงเดือนมิถุนายน

Facebook Live Audio เป็นฟีเจอร์ที่ทาง Facebook ออกมาในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อแข่งขันกับ ClubHouse โดยมีพื้นฐานของการใช้งานคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชันน้องใหม่อย่าง ClubHouse

เพื่อที่จะดึงดูดครีเอเตอร์ให้เข้ามาใช้งานมากขึ้น Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของบริษัท Facebook ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Meta ได้สัญญาว่าจะมีการมอบเงินให้กับครีเอเตอร์ ที่เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานบน Facebook เป็นจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงช่วงปลายปี 2022 โดยเงินจำนวน 50,000 ดอลลาร์จะถูกแบ่งไปให้กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้ามาใช้งาน Facebook Live Audio

Facebook ได้บอกว่าจะมีการจ่ายเงินตั้งแต่ 10,000 ดอลลาร์จนถึง 50,000 ดอลลาร์ต่อการใช้งาน ให้กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้ามาใช้งาน Facebook Live Audio โดยทาง Facebook ต้องการให้ครีเอเตอร์มีการเข้าใช้งาน Facebook Live Audio 4 ถึง 6 ครั้งโดยครั้งละประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย โดยฟีเจอร์ Facebook Live Audio สามารถทำได้ทั้งพอดแคสต์ ร้องเพลง และอื่น ๆ ซึ่งวิธีการเข้าใช้งาน Facebook Live Audio ก็สามารถเข้าผ่าน Facebook Live นั่นเอง

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าการที่ Facebook ออกมาจ่ายเงินรางวัลให้กับเหล่าครีเอเตอร์ จะไม่ได้มีการจ่ายให้ทุกคนแต่จะจ่ายให้เฉพาะกับกลุ่มที่สามารถทำผลงานหรือสร้างสรรค์ผลงานได้โดดเด่นจนเป็นที่นิยมในสังคมออนไลน์เพียงเท่านั้น ซึ่งนอกจาก จะจ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่อยู่บน Facebook แล้ว ยังมีการจ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่อยู่บน Instagram อีกด้วยโดยจะให้เงินรางวัลกับผู้ใช้งานที่ใช้งานฟีเจอร์ Reels และสามารถทำให้คลิปวีดีโอสั้นเป็นที่นิยมได้นั่นเอง

สำหรับบริษัท Meta ที่ประสบความสำเร็จทางด้านการสร้างรายได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการใช้เงินเข้ามาลงทุนกับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเป็นการสร้างแพลตฟอร์มให้มีการแข็งแรงมากขึ้นและเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะสามารถดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาใช้งานได้มากขึ้นโดยเฉพาะกับอาชีพครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้จากยอดผู้ชม การโฆษณาและการโปรโมทต่าง ๆ การที่มีเงินรางวัลมอบให้และเป็นเงินรางวัลที่สูงจะสามารถกระตุ้นให้กับกลุ่มคนพวกนี้สร้างสรรค์ผลงานได้ดีมากยิ่งขึ้นและจะช่วยให้แพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างแน่นอน

ซึ่งวิธีการมอบเงินรางวัลให้กับเหล่าครีเอเตอร์ที่เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานภายในแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ Facebook หรือ Instagram เท่านั้นทาง Tiktok ก็ทำวิธีการนี้ด้วยเช่นเดียวกันโดยการสร้างกองทุนที่มีชื่อว่า “The TikTok Creator Fund” หรือทาง Twitter ที่มี “Spaces accelerator program” การที่มีหลายช่องทางจะทำให้ครีเอเตอร์นั้นกลายเป็นอาชีพที่มีตัวเลือกและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นอีกในอนาคต

ภาพจาก Pexels

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook