Threads มาแรง ผู้ใช้งานถึง 100 ล้านบัญชีใน 4 วัน

Threads มาแรง ผู้ใช้งานถึง 100 ล้านบัญชีใน 4 วัน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัท Meta ยักษ์ใหญ่สื่อสังคมออนไลน์ของ Mark Zuckerberg ได้มีการเปิดตัวสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มใหม่ที่มีชื่อว่า “Threads” มาเป็นคู่แข่งของ Twitter ซึ่งกระแสตอบรับก็ดีมากเลยทีเดียว และมันก็ได้กลายเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มียอดผู้ใช้งานพุ่งถึง 100 ล้านบัญชีได้เร็วที่สุดใช้เวลาเพียงแค่ 4 วันเท่านั้น โดยสามารถทำลายสถิติเดิมของ Chatgpt ไปได้

และถึงแม้ว่าตอนนี้ Threads จะยังมีหน้าฟีดที่ยังไม่เสถียรมากนักแต่ทาง Adam Mosseri ก็บอกว่าจะมีการปรับปรุงเวอร์ชันในอนาคตโดยจะปรับการแสดงผลให้แสดงผลเฉพาะผู้ที่ผู้ใช้งานกำลังติดตามอยู่เท่านั้น นอกจากนี้ยังจะมีการเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เข้ามาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขโพสต์ การแปลภาษา การสลับบัญชี แต่ก็ยังไม่ได้มีการพูดถึงฟีเจอร์การส่งข้อความ

ความร้อนแรงของ Threads ได้ดึงดูดผู้ใช้งานจาก Twitter เข้ามาใช้งานด้วยหลังจากที่แพลตฟอร์มนกสีฟ้านั้นเริ่มมีการตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ใช้งาน แถมข้อจำกัดของ Threads ในการเขียนโพสต์ยังดีกว่า Twitter อีกด้วย ความเหมือนกันของทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันอยู่ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว แต่ความคล้ายกันก็ได้นำไปสู่ประเด็นการละเมิดสินทรัพย์ทางปัญญา

Twitter ฟ้อง Threads ละเมิดสินทรัพย์ทางปัญญา

ภาพ Pixabay/raphaelsilva

ได้มีการรายงานข่าวจากสำนักข่าว Semafor ว่าทวิตเตอร์ได้มีการส่งจดหมายขู่ฟ้องไปยัง Mark Zuckerberg ว่าด้วยเรื่องบริษัท Meta มีการละเมิดสินทรัพย์ทางปัญญาของ Twitter

ซึ่งทางทนายความของทาง Twitter ได้กล่าวไว้ว่า “บริษัทนั้นมีความกังวลมากว่าทางบริษัท Meta ได้มีการนำข้อมูลความลับทางการค้าของ Twitter รวมไปถึงสินทรัพย์ทางปัญญาอื่น ๆ โดยเจตนาและมิชอบด้วยกฎหมาย” นอกจากการส่งจดหมายฟ้องแล้วยังได้มีการอ้างอีกด้วยว่าทาง Meta ได้มีการจ้างอดีตพนักงานของทาง Twitter ไปช่วยในการพัฒนาแอปก่อนที่จะเปิดตัว “Threads” เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น

ภาพ wallpapers.com/MarkZuckerberg, Wallpaperaccess/Elonmusk

เรียกได้ว่าประเด็นความร้อนระอุระหว่าง Mark Zuckerberg กับ Elon Musk ไม่จบอยู่เพียงเท่านี้แน่นอนและจะทวีความร้อนแรงขึ้นไปอีกหรือไม่ก็ยังไม่รู้ นับตั้งแต่ได้มีการท้ากันขึ้นสังเวียนชก ทั้งคู่ก็มีประเด็นให้จับตามองกันอยู่อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว สุดท้ายแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ทั้งคู่จะจบลงด้วยดีหรือไม่ก็คงต้องติดตามต่อไป

ข้อมูลจาก PPTV36

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook 

WhatsApp ปิดสถานะออนไลน์ เพิ่มความเป็นส่วนตัว

WhatsApp ปิดสถานะออนไลน์ เพิ่มความเป็นส่วนตัว

การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หรือแอปแชท สิ่งที่หายไปเลยก็คือความเป็นส่วนตัว ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ตลอดเวลา สามารถรับรู้เรื่องราวของกันและกันได้จากหน้าฟีต สามารถละเมิดความเป็นส่วนตัวได้ดูวิธีต่าง ๆ นานา ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์รวมไปถึงแอปแชท ได้มีความพยายามที่จะเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานมาโดยตลอด โดยการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่หรือปรับเปลี่ยนนโยบายในการใช้งาน ซึ่ง WhatsApp ก็ได้มีการเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ผู้ใช้งาน

WhatsApp อัปเดตความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (วันพุธตามเวลาในประเทศไทย) WhatsApp ได้มีการประกาศเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวในการใช้งานแอปได้มากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถที่จะอ่านข้อความของคู่สนทนาได้โดยไม่แสดงสถานะการอ่านข้อความ สามารถปิดสถานะออนไลน์ของตนได้ตามที่ต้องการถึงแม้จะมีการใช้งานอยู่ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อทำการออกจากกลุ่มสนทนาจะไม่มีการแจ้งเตือนว่ามีผู้ใช้งานออกจากกลุ่ม สุดท้ายก็คือผู้ใช้งานจะไม่สามารถ screenshot บทสนทนาได้ ซึ่งฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวที่ได้กล่าวมาจะถูกอัปเดตลงแอปภายในเดือนนี้

ภาพ Pexels

WhatsApp เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ระบบ E2E (End to End Encryption) ซึ่งระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้งานที่เป็นคู่สนทนาเท่านั้นที่จะเห็นข้อความ แล้วเหมือนกับแอปพลิเคชันอื่น ผู้ใช้งานสามารถตั้งเวลาแสดงข้อความได้โดยเมื่อเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ข้อความก็จะหายไป ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา Meta บริษัทแม่ของทาง WhatsApp ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ซึ่งก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการอัปเดตความเป็นส่วนตัวในครั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานรวมไปถึงเพื่อปกป้องชื่อเสียงของบริษัทด้วย

ภาพ Pexels

ความตั้งใจของ Mark Zuckerberg

Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของบริษัท Meta ต้องการให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม WhatsApp ต้องการให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้งาน โดยพยายามที่จะหาทางปกป้องข้อความของคู่สนทนาเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานรวมไปถึงความปลอดภัยให้เหมือนกับการพูดคุยเเบบพบปะกัน

ในตอนนี้สำหรับบริษัท Meta และ Mark Zuckerberg นอกจากจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้กับผู้ใช้งาน สิ่งสำคัญเลยก็คือความปลอดภัยของข้อมูล เพราะว่าข้อมูลในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงมากเพราะมันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นยิ่งเป็นบริษัทที่มีลูกค้ามากเท่าใดความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลของลูกค้าก็ต้องมากขึ้นเท่านั้น

ภาพ Pexels

การเพิ่มความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน WhatsApp ในครั้งนี้ต้องคอยติดตามดูว่าผลตอบรับจากผู้ใช้งานจะเป็นเช่นไร ถ้าหากได้รับผลตอบรับที่ดีจะมีการพัฒนาระบบให้ดีมากขึ้นต่อไปหรือไม่ และถ้าหากได้รับผลในทางที่ไม่ดีจะมีการแก้ไขอย่างไร

ข้อมูลจาก CNN

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Facebook วางแผนเปลี่ยนชื่อบริษัท

Facebook

Facebook บริษัทเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลกกำลังมีแผนการที่จะเปลี่ยนชื่อบริษัท

Facebook บริษัทเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลกกำลังมีแผนการที่จะเปลี่ยนชื่อบริษัทโดย Mark Zuckerberg มีแผนการที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนชื่อของบริษัทในงานประชุม company’s annual Connect conference เป็นงานประชุมประจำปีของบริษัทโดยจะจัดงานขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคมนี้

ซึ่งชื่อของบริษัทใหม่ก็คงจะถูกเปิดเผยมาเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน การเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่จะทำให้ Facebook สื่อสังคมออนไลน์นั้นกลายเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทแม่เช่นเดียวกับ WhatsApp, Instagram และอื่นๆ ซึ่งทาง Facebook มีแผนการที่จะเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ Metaverse ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ในปัจจุบันนี้บริษัท Facebook มีพนักงานที่อยู่ในฝ่ายการพัฒนาฮาร์ดแวร์เช่น แว่นตา AR เป็นจำนวนมากกว่า 10,000 คน โดยอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ Mark Zuckerberg ตั้งใจที่จะเปลี่ยนบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ให้กลายเป็นบริษัท Metaverse

โดยบริษัท Facebook ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีแรกที่ได้มีการเปลี่ยนชื่อโดยในปี 2015 บริษัท Google ได้มีการจัดระเบียบบริษัทใหม่เป็น Alphabet โดยให้บริษัท Alphabet เป็นบริษัทแม่ของ Google ซึ่งนอกจากจะทำธุรกิจเกี่ยวกับ search engine แล้วยังทำธุรกิจทางด้านรถยนต์ไร้คนขับและ health care อีกด้วย หรือแม้แต่ Snapchat แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดัง ก็ได้มีการรีแบรนด์เป็น Snap Inc. แล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูป ในปี 2016

ซึ่งทาง Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของบริษัทก็ได้คอมเม้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า Facebook กำลังวางรากฐาน เทคโนโลยีเจนเนอเรชั่นใหม่ และได้มีการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี Metaverse มาได้สักพักหนึ่งแล้ว และก็ได้มีการทดลองใช้ไปบ้างแล้วด้วยเช่นเดียวกัน แถมยังมีการร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ ในการสร้างเทคโนโลยี AR และ VR อีกด้วย และดูเหมือนว่าทาง Facebook นั้นก็เริ่มจริงจังขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาก็ได้มีการจัดตั้งทีม Metaverse แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Facebook ก็ได้มีการประกาศจ้างพนักงานจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนเพื่อมาพัฒนา Metaverse ในทวีปยุโรป และเขายังบอกอีกด้วยว่า Metaverse จะเป็นส่วนสำคัญของโลกอินเทอร์เน็ตและโมบายอินเทอร์เน็ตในภายภาคหน้า และยังเป็นส่วนที่สำคัญต่อไปของบริษัท

ท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ของ Facebook บริษัทกำลังเผชิญกับปัญหามากมายซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในสังคมเป็นอย่างมากเลยทีเดียวในตอนนี้ Facebook ก็มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไปพร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต แต่สิ่งที่น่าติดตามในตอนนี้ก็คือในสัปดาห์ข้างหน้าบริษัท Facebook จะมีนามใหม่ของบริษัทเป็นชื่อว่าอะไรกัน และเทคโนโลยี Metaverse ในอนาคตจะมีรูปแบบเป็นแบบไหน

ภาพจาก Wallpaperaccess

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Instagram for kids ถูกคัดค้านไม่ให้พัฒนา

Instagram for kids

Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของ Facebook มีแผนการที่จะพัฒนาแอปพลิเคชัน Instagram for Kids สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี หลังจากที่มีแผนการออกมาก็ได้มีคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าวนี้

เราทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าในปัจจุบันนี้เด็กนั้นเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมากและผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ซึ่งก็ทำให้เด็กนั้นอยู่กับเทคโนโลยีตลอดเวลาเลย ซึ่งแตกต่างจากในยุคต้นก่อนเป็นอย่างมากที่ไม่มีเทคโนโลยี การมีเทคโนโลยีเข้ามาก็มีทั้งข้อดีคือทำให้เด็กนั้นสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียของมันก็คือการที่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีนั้นเข้าถึงเทคโนโลยีเป็นประจำโดยเฉพาะโลกของสื่อสังคมออนไลน์ก็อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบและก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กได้ เพราะว่าเด็กนั้นยังไม่มีความคิดเป็นของตัวเองนั่นเอง ซึ่งมีเด็กหลายคนที่อายุต่ำกว่า 13 ปีได้รับผลกระทบ ซึ่งหนักสุดก็ถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว

ซึ่งความกังวลในเรื่องของผลกระทบนี่ทำให้แอปพลิเคชัน Instagram for Kids มีผู้คัดค้านเป็นจำนวนมากในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้คนมากกว่า 180,000 คนลงชื่อคัดค้านการพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ทางอัยการสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 44 คนก็ได้มีการส่งจดหมายให้ยกเลิกแผนการพัฒนา Instagram for kids ด้วยเช่นเดียวกัน 

ซึ่งทาง Mark Zuckerberg ก็ได้ออกมาชี้แจงเมื่อ 2 เดือนที่แล้วว่าแผนการที่จะพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าวนั้นยังอยู่ในช่วงแรกของการดำเนินการ แต่ว่า Adam Mosseri ผู้ที่เป็นหัวหน้าของ Instagram ก็ยังดำเนินแผนที่จะพัฒนาแอปพลิเคชัน Instagram for Kids ต่อไป และเชื่อว่าแอปพลิเคชันนี้จะอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง และทางผู้พัฒนาก็ได้มีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ด้วย 

สำหรับในตอนนี้แอปพลิเคชัน Instagram และ facebook เป็นแอปที่ไม่อนุญาตให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีสร้างบัญชีเพื่อใช้บริการได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเด็กในปัจจุบันนี้ก็สามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ได้มากมายเลยทีเดียว

ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชันหรือว่าประชาชนทั่วไปรวมไปถึงฝั่งอัยการสูงสุดของสหรัฐก็มีเป้าหมายเดียวกันนั่นก็คือความปลอดภัยของเด็กในการเล่นสื่อสังคมออนไลน์ ต้องมาติดตามดูว่าท้ายที่สุดแล้วทั้งสองฝ่ายจะหาจุดลงตัวได้หรือไม่และจะมีแอปพลิเคชันสำหรับเด็กเกิดขึ้นมาหรือเปล่า

#InstagramforKids #Instagram #MarkZuckerberg #ทันโลกit  #getup-it.com

ข้อมูลจาก USAtoday, Cnbc