Facebook เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cyberbully

Facebook

Facebook และ Instagram แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังของบริษัท Meta

ถึงแม้ว่าบริษัท Facebook ที่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta กำลังเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ Metaverse เพื่อเตรียมพร้อมกับโลกอนาคตแต่ก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวเลวร้ายจากอดีตก็ยังไม่คลี่คลายลง

Facebook และ Instagram แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังของบริษัท Meta ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้งาน บนสื่อสังคมออนไลน์มักมีการคุกคาม การบูลลี่ รวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ ซึ่งในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมานี้เราก็ได้เห็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากมายเลยทีเดียวสำหรับของทาง Facebook และ Instagram แต่ก็ดูเหมือนว่าทาง Facebook ก็ยังมองข้ามปัญหาเหล่านี้อยู่ จนถึงขั้นมีการเรียกร้องจาก Frances Haugen ต่อสภาคองเกรสเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวเลยทีเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่ทาง Facebook พยายามที่จะสนใจผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยในแพลตฟอร์ม

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นทาง Facebook ก็ได้มีการลบเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องการคุกคามไปมากกว่า 9.2 ล้านเนื้อหา เช่นเดียวกับทาง Instagram ที่มีการลบไปมากกว่า 7.8 ล้านเนื้อหาเลยทีเดียว แต่ก็ยังมีบางเนื้อหาที่ไม่ถูกลบไป เนื่องจากคำพูดบางคำพูดเป็นการใช้งานกับเพื่อนสนิทหรือบุคคลใกล้ชิด ทำให้ยังมีคำหยาบมากมายการคุกคามมากมายอยู่บนโลกของอินเทอร์เน็ตในสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Instagram อยู่

โดยเมื่อวันอังคารที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาทาง Facebook ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่หลายของการคุกคาม การวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบที่อยู่บนโลกของสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Instagram

โดย Facebook บอกว่านับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาเนื้อหาที่เกี่ยวกับการคุกคามและการวิพากษ์วิจารณ์นั้นได้ถูกเห็นประมาณ 14-15 ครั้งทุกการรับชม ครั้ง และสำหรับบน Instagram เนื้อหาที่เกี่ยวกับการคุกคามและการวิพากษ์วิจารณ์จะถูกเขียนประมาณ 5-6 ครั้งต่อการรับชม 10,000 ครั้งเช่นเดียวกัน

ถ้าวัดกับผู้ใช้งานก็คงต้องบอกว่าจำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนที่เยอะมากเลยทีเดียว และการที่ Facebook เปิดเผยความแพร่หลายที่เกี่ยวข้องกับการคุกคามเช่นนี้รวมไปถึงถ้อยคำสร้างความเกลียดชังก็คงเป็นเรื่องที่ดีแต่ก็ยังมีพนักงานที่เคยทำงานกับบริษัทอีกหลายคนไม่เห็นด้วยกับตัววัดดังกล่าว โดยบอกว่าตัววัดดังกล่าวที่วัดเกี่ยวกับการแพร่หลายนี้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเนื้อหาที่กระตุ้นคตินิยม

ทางหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยและความซื่อสัตย์ของทางบริษัทก็ได้ออกมาชี้แจงว่าการวัดดังกล่าวจะช่วยตรวจจับสิ่งที่เราเห็นและจะช่วยตรวจจับสิ่งที่เราพลาด ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีที่จะมีการพูดถึงการวัดด้วยวิธีการอื่น ซึ่งทางบริษัทก็ได้มีการปรึกษากับ EY เพื่อสร้างตัววัดขึ้นมาในช่วงควอเตอร์ที่ 4 ของปีนี้ และจะมีการเปิดเผยมาในช่วงปี 2022

จากนี้ก็ต้องมาดูว่าทางบริษัท Meta จะจัดการกับเนื้อหาที่มีความรุนแรงเช่นนี้อย่างไรเพราะว่ามันจะทำให้สุขภาพจิตของผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มนั้นเสียได้อย่างรวดเร็วเลยทีเดียว และจะดึงดูดผู้ใช้งานไปใช้แพลตฟอร์มอื่นที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากกว่า

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Twitch เพิ่มระบบยืนยันตัวตน

Twitch

Twitch เพิ่มระบบยืนยันตัวตนก่อนแชทสตรีมเมอร์

Twitch เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่รวมตัวกันของสตรีมเมอร์จากทั่วทุกมุมโลกเลยทีเดียวและมีผู้ติดตามอยู่ทั่วโลกด้วยเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมยังเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างรายได้ให้กับสตรีมเมอร์ได้อีกด้วย และแน่นอนว่าการที่เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างทำให้ Twitch เป็นแพลตฟอร์มที่มีสตรีมเมอร์หลากหลายรูปแบบรวมถึงผู้ชมด้วยเช่นเดียวกันแต่ว่าเมื่อมีความเปิดกว้างก็ทำให้ส่งผลกระทบไม่น้อยเลยทีเดียว

ปัญหาที่ทาง Twitch กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มากเลยทีเดียวในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานของสตรีมเมอร์ สตรีมเมอร์หลาย ๆ คนทุกถ้อยคำโจมตีจากผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเชื้อชาติเพศหรือสีผิวก็ตามทีซึ่งในปัจจุบันนี้ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นปัญหาที่ทั่วทั้งโลกให้ความสำคัญและแสดงถึงความเป็นมนุษย์การเป็นฝ่ายถูกกระทำย่อมรู้สึกไม่ดีอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ในเรื่องนี้กันอย่างแข็งขันแต่เรื่องนี้ก็ยังมีให้เห็นได้ในสังคมทั่วไป ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นส่งผลให้มีแฮชแท็ก #TwitchdoBetter ขึ้นมา

ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีสตรีมเมอร์หลายรายออกมาประท้วงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวซึ่งก็ทำให้เป็นประเด็นขึ้นมาเลยทีเดียวและทาง Twitch ก็ถูกมองในมุมมองที่ไม่ดีเสียด้วยโดยล่าสุดทาง Twitch ได้ออกมาแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับทางสตรีมเมอร์ โดยการเพิ่มระบบยืนยันตัวตนด้วยอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ โดยผู้ที่เป็นผู้ชมจะต้องมีการยืนยันตัวตนด้วยวิธีดังกล่าวก่อนที่จะเข้าไปพูดคุยกับสตรีมเมอร์ในช่องแชทนั่นเอง ซึ่งก็จะมีช่วงระยะเวลาจำกัดอยู่ ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงจนถึง 6 เดือน โดยวิธีการดังกล่าวนอกจากจะช่วยกำหนดระยะเวลาแล้วยังช่วยให้ผู้ที่เป็นสตรีมเมอร์นั้นสามารถจัดระเบียบผู้ชมของตนเองได้ดีขึ้นอีกด้วย

ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ก็คงจะช่วยให้คอมมูนิตี้ของเหล่าสตรีมเมอร์ใน Twitch เป็นคอมมูนิตี้ที่ดีมากขึ้น และจะช่วยให้เหล่าสตรีมเมอร์นั้นมีความปลอดภัยจากการโจมตีได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อ Twitch ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้บนทวิตเตอร์ ก็มีผู้ใช้งานบางส่วนนั้นกังวลว่าอาจจะมีการใช้อีเมลปลอมเพื่อมายืนยันตัวตนแต่ส่วนใหญ่แล้วก็เห็นด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ทาง Twitch ออกมาแก้ไขปัญหา และในอนาคตคงจะมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากขึ้นเพื่อให้ Twitch เหมาะกับทั้งผู้ใช้งานหน้าใหม่และผู้ใช้งานที่ใช้งานปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าเราจะอยู่คนละชาติมีเพศที่ไม่เหมือนกันหรือว่าสีผิวที่แตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่ทุกคนเป็นก็คือมนุษย์เพราะฉะนั้นเราจึงมีความเท่าเทียมกันในทุก ๆ ด้าน สังคมที่ดีคือสังคมที่เราไม่ดูถูกซึ่งกันและกันและเป็นมิตรต่อกันไม่ว่าเป็นเพศไหนหรือว่าชาติใดก็ตาม

ภาพจาก Wallpaperaccess

ข้อมูลจาก PCGamer

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook