Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบและอยากจะทำกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียวหลายคนมีเพจของตัวเอง หลายคนมีช่องบน Youtube เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของคลิปวิดีโอ รูปภาพ บทความ และอื่น ๆ หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จจนมีรายได้ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยเทรนด์นี้ที่กำลังมาแรงทำให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางในการสนับสนุนให้กับ

กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นให้เงินสนับสนุนถ้าหากทำตามเกณฑ์ที่แพลตฟอร์มวางไว้ หรือเพิ่มช่องทางให้ผู้ติดตามสามารถสนับสนุนได้ ตัวอย่างเช่น Tip Jar ของ Twitter หรือ หรือการส่งดาวใน Facebook Live ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้ด้วย หรือแม้กระทั่งใน OnlyFans ที่ผู้ที่ต้องการจะเข้าไปติดตามเนื้อหาต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินสนับสนุนผู้สร้างเนื้อหานั้น ซึ่ง Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังพัฒนาระบบสนับสนุนให้กับเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ภาพจาก Cnet

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions ซึ่งผู้ที่เป็นครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากแฟนคลับได้โดยแฟนคลับที่จ่ายเงินให้กลุ่มคนที่เป็นครีเอเตอร์ก็จะได้เข้าถึงเนื้อหาสุดพิเศษของครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Instagram ได้นั่นเอง จะเป็นการถ่ายทอดสดสุด Exclusive การลงสตอรี่สุดพิเศษ การทำโพล หรือคลิปเบื้องหลัง และเนื้อหาอื่น ๆ

ซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ครีเอเตอร์และกลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกันได้มากขึ้นนั่นเองโดยผู้ติดตามสามารถเลือกจ่ายเงินสนับสนุนครีเอเตอร์ได้ตั้งแต่ราคา 99 เซน จนถึง 99 ดอลลาร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปิดทดลองใช้ในประเทศอเมริกา โดยมีการทดลองใช้กับครีเอเตอร์จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อรับ feedback หรือคำแนะนำจากผู้ใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใดต้องปรับปรุงในจุดไหนบ้างก่อนที่จะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการนั้นเอง บริษัท Meta ก็ได้มีการประกาศออกมาด้วยว่าสำหรับผู้ที่มีการซื้อ Subscriptions จะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจนถึงปี 2023 เลยทีเดียว

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

ภาพจาก Pixabay

นับว่าเป็นข่าวดีอีกหนึ่งข่าวเลยก็ว่าได้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการสร้างคอนเทนต์ การมีช่องทางเพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสให้มีมากขึ้นนั่นเอง และในทุก platform ก็จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบางคนอาจจะถนัดเขียนเป็นบทความก็อาจจะใช้ Facebook บางคนชอบทำคลิปเป็นคลิปยาว ๆ ก็อาจจะใช้ YouTube หรือถ้าบางคนชอบนี้หาสั้นๆ กระชับได้ใจความอาจจะเป็นคลิปหรือเป็นข้อความสั้น ๆ ก็อาจจะใช้งาน Twitter หรือ Instagram (ในอนาคต) ในการสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้มีคนเข้ามาติดตาม ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็อาจจะเป็นครั้งแรกได้หลักและรายได้เสริมให้กับผู้ทำได้เลย แต่ไม่ว่าอย่างไรการแข่งขันก็สูงมากด้วยเช่นเดียวกันต้องใช้ความพยายามและอุตสาหะเป็นอย่างมากในการที่จะประสบความสำเร็จในสายงานดังกล่าวนี้

Instagram ทดสอบฟีเจอร์

ภาพจาก Pixabay

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ข้อมูลจาก Cnet

Instagram ทดสอบฟีเจอร์ Subscriptions

Instagram

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions

ครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบและอยากจะทำกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียวหลายคนมีเพจของตัวเอง หลายคนมีช่องบน Youtube เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของคลิปวิดีโอ รูปภาพ บทความ และอื่น ๆ หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จจนมีรายได้ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยเทรนด์นี้ที่กำลังมาแรงทำให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางในการสนับสนุนให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นให้เงินสนับสนุนถ้าหากทำตามเกณฑ์ที่แพลตฟอร์มวางไว้ หรือเพิ่มช่องทางให้ผู้ติดตามสามารถสนับสนุนได้ ตัวอย่างเช่น Tip Jar ของ Twitter หรือ หรือการส่งดาวใน Facebook Live ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพนี้ด้วย หรือแม้กระทั่งใน OnlyFans ที่ผู้ที่ต้องการจะเข้าไปติดตามเนื้อหาต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินสนับสนุนผู้สร้างเนื้อหานั้น ซึ่ง Instagram ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังพัฒนาระบบสนับสนุนให้กับเหล่าครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์

Instagram กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Subscriptions ซึ่งผู้ที่เป็นครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากแฟนคลับได้โดยแฟนคลับที่จ่ายเงินให้กลุ่มคนที่เป็นครีเอเตอร์ก็จะได้เข้าถึงเนื้อหาสุดพิเศษของครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Instagram ได้นั่นเอง จะเป็นการถ่ายทอดสดสุด Exclusive การลงสตอรี่สุดพิเศษ การทำโพล หรือคลิปเบื้องหลัง และเนื้อหาอื่น ๆ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ครีเอเตอร์และกลุ่มคนที่เป็นแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกันได้มากขึ้นนั่นเองโดยผู้ติดตามสามารถเลือกจ่ายเงินสนับสนุนครีเอเตอร์ได้ตั้งแต่ราคา 99 เซน จนถึง 99 ดอลลาร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปิดทดลองใช้ในประเทศอเมริกา โดยมีการทดลองใช้กับครีเอเตอร์จำนวน 10 คนด้วยกัน ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อรับ feedback หรือคำแนะนำจากผู้ใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใดต้องปรับปรุงในจุดไหนบ้างก่อนที่จะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการนั้นเอง บริษัท Meta ก็ได้มีการประกาศออกมาด้วยว่าสำหรับผู้ที่มีการซื้อ Subscriptions จะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจนถึงปี 2023 เลยทีเดียว

นับว่าเป็นข่าวดีอีกหนึ่งข่าวเลยก็ว่าได้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการสร้างคอนเทนต์ การมีช่องทางเพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสให้มีมากขึ้นนั่นเอง และในทุก platform ก็จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบางคนอาจจะถนัดเขียนเป็นบทความก็อาจจะใช้ Facebook บางคนชอบทำคลิปเป็นคลิปยาว ๆ ก็อาจจะใช้ YouTube หรือถ้าบางคนชอบนี้หาสั้นๆ กระชับได้ใจความอาจจะเป็นคลิปหรือเป็นข้อความสั้น ๆ ก็อาจจะใช้งาน Twitter หรือ Instagram (ในอนาคต) ในการสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้มีคนเข้ามาติดตาม ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็อาจจะเป็นครั้งแรกได้หลักและรายได้เสริมให้กับผู้ทำได้เลย แต่ไม่ว่าอย่างไรการแข่งขันก็สูงมากด้วยเช่นเดียวกันต้องใช้ความพยายามและอุตสาหะเป็นอย่างมากในการที่จะประสบความสำเร็จในสายงานดังกล่าวนี้

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube ปกป้องครีเอเตอร์ปิดจำนวน Dislike

YouTube

YouTube ก็เป็นสื่อสังคมออนไลน์

YouTube ก็เป็นสื่อสังคมออนไลน์ประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับ Facebook, Instagram หรือว่า Twitter ที่ภายในแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานที่หลากหลายและมีลักษณะเดียวกันกับสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มอื่นนั่นก็คือมีทางผู้ใช้งานที่ดีและผู้ใช้งานที่ไม่ดี ถึงแม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่ไว้ลงคลิปวิดีโอก็ตามทีแต่ก็ยังอนุญาตให้ผู้ชมเข้ามาคอมเม้นหรือพูดถึงคลิปวิดีโอที่ครีเอเตอร์ได้ลงไปได้ ซึ่งคอมเม้นก็จะมีหลากหลายมากมายไม่ว่าจะเป็นแนะนำ ชม รวมไปถึงการพูดคุยทั่วไป และแน่นอนว่าไม่มีคอมเม้นในแง่ดีก็ต้องมีคอมเม้นในแง่ไม่ดีด้วยเช่นเดียวกันซึ่งบางครั้งก็เป็นการคุกคามหรือวิพากษ์วิจารณ์ครีเอเตอร์อย่างเสีย ๆ หาย ๆ นอกจากคอมเม้นแล้วทาง YouTube ยังมีปุ่ม Like และ Dislike ให้กับผู้ชมด้วยกฎด้วยเช่นเดียวกันซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นเลยทีเดียวว่าคลิปวิดีโอที่ทำออกมานั้นทำได้ออกมาดีหรือทำได้ออกมาไม่ดี แต่การที่มีจำนวน Dislike มากเกินไปก็อาจจะเป็นการคุกคามก็เป็นได้

ทาง YouTube ได้มีประกาศออกมาเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปุ่ม Dislike ที่อยู่ภายในแพลตฟอร์ม ซึ่งการอัปเดตครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่เข้ามารับชมนั้นจะไม่เห็นจำนวน Dislike ของคลิปวิดีโอที่เข้าไปรับชมได้โดยผู้ที่จะเห็นจำนวนของ Dislike ก็คือเจ้าของคลิปวิดีโอหรือครีเอเตอร์ที่เป็นผู้สร้างวิดีโอนั้นขึ้นมาการทำเช่นนี้เพื่อปกป้องครีเอเตอร์จากการโดนคุกคามและจากการโดน Dislike attacks โดยนับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนเป็นต้นไปฟีเจอร์ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานบน YouTube เพิ่งฟีเจอร์การปกปิดจำนวน Dislike จะถูกนำไปใช้งานกับคลิปวิดีโอปกติและคลิปวิดีโอที่มีการถ่ายทอดสดด้วย 

ในการกดปุ่ม Dislike ใน YouTube นั้นอาจจะถูกแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ นั่นก็คือการกดปุ่ม Dislike เพื่อเพิ่มยอดที่มีคนกดในกลุ่มนี้ให้เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อครีเอเตอร์แม้แต่น้อย ซึ่งอีกรูปแบบหนึ่งก็คือการกดปุ่ม Dislike เพื่อแสดงความต้องการ ตัวอย่างเช่นการกดปุ่ม Dislike ในคลิปวิดีโอเพลงที่ไม่ชอบเพื่อให้ YouTube นั้นแสดงคลิปวิดีโอเพลงที่ผู้ใช้งานชื่นชอบให้มากขึ้น และสามารถใช้ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ครีเอเตอร์มีการปรับปรุงและพัฒนา Content ของตัวเองให้ดีมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจำนวน Dislike มีผลต่อการรับชมวิดีโอด้วยเช่นเดียวกัน ผู้ชมบางกลุ่มเลือกที่จะรับชมคลิปวิดีโอต่าง ๆ จากจำนวนการกด Like และ Dislike ถ้าหากว่าคลิปวิดีโอไหนมี Dislike จำนวนมากก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีคนดูคลิปวิดีโอดังกล่าวน้อย ซึ่งการ ที่ YouTube ปิดการมองเห็นจำนวนการกด Dislike ก็เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามนอกจากการกดปุ่ม Dislike แล้ว การคอมเม้นพูดคุยกันเกี่ยวกับคลิปวิดีโอบางครั้งก็ยังเป็นคอมเม้นในเชิงลบอยู่ในที่นี้ก็คงต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหากันต่อไป

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Gamerant

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Facebook จ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่ใช้งาน Live Audio

Facebook

Facebook Live Audio เป็นฟีเจอร์ที่ทาง Facebook ออกมาในช่วงเดือนมิถุนายน

Facebook Live Audio เป็นฟีเจอร์ที่ทาง Facebook ออกมาในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อแข่งขันกับ ClubHouse โดยมีพื้นฐานของการใช้งานคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชันน้องใหม่อย่าง ClubHouse

เพื่อที่จะดึงดูดครีเอเตอร์ให้เข้ามาใช้งานมากขึ้น Mark Zuckerberg ผู้ที่เป็น CEO ของบริษัท Facebook ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Meta ได้สัญญาว่าจะมีการมอบเงินให้กับครีเอเตอร์ ที่เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานบน Facebook เป็นจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงช่วงปลายปี 2022 โดยเงินจำนวน 50,000 ดอลลาร์จะถูกแบ่งไปให้กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้ามาใช้งาน Facebook Live Audio

Facebook ได้บอกว่าจะมีการจ่ายเงินตั้งแต่ 10,000 ดอลลาร์จนถึง 50,000 ดอลลาร์ต่อการใช้งาน ให้กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้ามาใช้งาน Facebook Live Audio โดยทาง Facebook ต้องการให้ครีเอเตอร์มีการเข้าใช้งาน Facebook Live Audio 4 ถึง 6 ครั้งโดยครั้งละประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย โดยฟีเจอร์ Facebook Live Audio สามารถทำได้ทั้งพอดแคสต์ ร้องเพลง และอื่น ๆ ซึ่งวิธีการเข้าใช้งาน Facebook Live Audio ก็สามารถเข้าผ่าน Facebook Live นั่นเอง

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าการที่ Facebook ออกมาจ่ายเงินรางวัลให้กับเหล่าครีเอเตอร์ จะไม่ได้มีการจ่ายให้ทุกคนแต่จะจ่ายให้เฉพาะกับกลุ่มที่สามารถทำผลงานหรือสร้างสรรค์ผลงานได้โดดเด่นจนเป็นที่นิยมในสังคมออนไลน์เพียงเท่านั้น ซึ่งนอกจาก จะจ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่อยู่บน Facebook แล้ว ยังมีการจ่ายเงินให้กับครีเอเตอร์ที่อยู่บน Instagram อีกด้วยโดยจะให้เงินรางวัลกับผู้ใช้งานที่ใช้งานฟีเจอร์ Reels และสามารถทำให้คลิปวีดีโอสั้นเป็นที่นิยมได้นั่นเอง

สำหรับบริษัท Meta ที่ประสบความสำเร็จทางด้านการสร้างรายได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการใช้เงินเข้ามาลงทุนกับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเป็นการสร้างแพลตฟอร์มให้มีการแข็งแรงมากขึ้นและเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะสามารถดึงดูดผู้ใช้งานให้เข้ามาใช้งานได้มากขึ้นโดยเฉพาะกับอาชีพครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้จากยอดผู้ชม การโฆษณาและการโปรโมทต่าง ๆ การที่มีเงินรางวัลมอบให้และเป็นเงินรางวัลที่สูงจะสามารถกระตุ้นให้กับกลุ่มคนพวกนี้สร้างสรรค์ผลงานได้ดีมากยิ่งขึ้นและจะช่วยให้แพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างแน่นอน

ซึ่งวิธีการมอบเงินรางวัลให้กับเหล่าครีเอเตอร์ที่เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานภายในแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ Facebook หรือ Instagram เท่านั้นทาง Tiktok ก็ทำวิธีการนี้ด้วยเช่นเดียวกันโดยการสร้างกองทุนที่มีชื่อว่า “The TikTok Creator Fund” หรือทาง Twitter ที่มี “Spaces accelerator program” การที่มีหลายช่องทางจะทำให้ครีเอเตอร์นั้นกลายเป็นอาชีพที่มีตัวเลือกและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นอีกในอนาคต

ภาพจาก Pexels

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook