Facebook ลบข่าวปลอมในประเทศยูเครน

Facebook ลบข่าวปลอมในประเทศยูเครน

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาหรือตามในเวลาประเทศไทยก็คือช่วงวันพฤหัสทางบริษัท Meta บริษัทแม่ของ Facebook ได้มีการลบคลิปวิดีโอคลิปหนึ่งของประธานาธิบดีประเทศยูเครน Volodymyr Zelenskyy หลังจากที่ได้รู้ว่าคลิปวิดีโอนั้นเป็นคลิปวิดีโอที่ถูกทำขึ้นและเป็นข่าวปลอมโดยภายในกี่วิดีโอมีการพูดถึงเกี่ยวกับชาวยูเครนที่จะวางอาวุธและยอมให้กับทางประเทศรัสเซีย

คลิปวิดีโอที่เป็นคลิปวิดีโอปลอมนั้นได้ถูกเผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ข่าวของประเทศยูเครนหลังจากที่เว็บไซต์ถูกแฮ็ค จากการรายงานจากสำนักข่าว Sky News ในคลิปวิดีโอได้ปรากฏให้เห็นประธานาธิบดีของยูเครนออกมาพูดหลังโพเดียมโดยเป็นการประกาศว่าทางประเทศยูเครนได้มีการตัดสินใจคือรัฐดอนบาสให้กับประเทศรัสเซีย ซึ่งสิ่งที่สังเกตได้ในคลิปวิดีโอดังกล่าวนั้นก็คือรูปร่างหน้าตาของ Volodymyr Zelenskyy มีขนาดที่ใหญ่เกินไปและดูไม่เข้ากับตัวและเสียงก็ไม่ได้ตรงกับเสียงตัวจริงด้วย

Facebook ลบข่าวปลอมในประเทศยูเครน

หลังจากที่ทาง Facebook ได้รู้ว่าได้มีคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายใน แพลตฟอร์มของตัวเองนั้นทางบริษัทก็ได้มีการลบวิดีโอดังกล่าวออกจากแพลตฟอร์ม

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลของประเทศยูเครนก็ได้มีการประกาศเตือนทหารและเหล่าประชาชนเมื่อเขาได้พบเจอคลิปวิดีโอของประธานาธิบดีบนโลกออนไลน์และถ้าหากว่าทางท่านประธานาธิบดีได้มีการประกาศยอมแพ้ต่อประเทศรัสเซียที่ได้บุกรุกเข้ามาในคราวนี้ให้ตีความไว้ก่อนว่าเป็นข่าวลือที่ทางผู้ไม่หวังดีสร้างขึ้นเพื่อต้องการให้ชาวยูเครนยอมจำนนต่อการรุกรานในคราวนี้

Facebook ลบข่าวปลอมในประเทศยูเครน

นอกจากนี้ Volodymyr Zelenskyy ก็ได้มีการโพสต์คลิปวิดีโอบน Instagram ส่วนตัวด้วยโดยเขาได้มีการปฏิเสธเกี่ยวกับคลิปวิดีโอปลอมดังกล่าวและได้มีการพูดถึงเกี่ยวกับคำแนะนำเดียวที่เขาได้พูดนั่นก็คือการขอให้ทหารที่อยู่ทางฝั่งประเทศรัสเซียวางอาวุธและกลับบ้านและเขาก็ยังบอกอีกด้วยว่าพวกเราอยู่ที่บ้านและจะคอยปกป้องประเทศยูเครน

Facebook ลบข่าวปลอมในประเทศยูเครน

จากสงครามที่เริ่มต้นด้วยการใช้อาวุธเริ่มกลับกลายเป็นสงครามที่ใช้โลกอินเทอร์เน็ตในการโจมตีกันมากขึ้นและยิ่งในปัจจุบันถ้าหากว่าไม่ได้มีการตรวจสอบให้ดีเสียก่อนแล้วก็อาจจะเป็นไปได้ว่าข่าวปลอมที่ถูกเผยแพร่ออกมานั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้เลยทีเดียวแต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทางสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็พยายามที่จะกำจัดข่าวปลอมให้ได้มากที่สุดเพราะเคยเกิดเหตุการณ์การแพร่กระจายของข่าวปลอมมาแล้วหลายต่อหลายครั้งแล้วมันส่งผลกระทบมากมายเลยทีเดียว

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

ข้อมูลจาก The verge

Twitter สื่อสังคมออนไลน์

Twitter

เมื่อ Twitter Spaces กลายเป็นแหล่งรวมของ hate speech

Twitter สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกได้มีการออกฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Twitter Spaces ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมาเป็นคู่แข่งกับ Clubhouse หนึ่งในแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ที่เกิดใหม่เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงแรก Twitter Spaces เปิดให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานในการจัดรายการรูปแบบ audio-only chat rooms โดยผู้ที่ใช้งานในช่วงนั้นจำเป็นที่จะต้องมีผู้ติดตามในทวิตเตอร์อย่างน้อย 600 คน หลังจากเดือนพฤศจิกายนก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนผู้ติดตามทำให้ Twitter Spaces กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าจะมีรายงานในแง่ลบออกมาให้เห็น

จากสื่อ The Washington Post ได้มีการรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโดยได้รับข้อมูลมาจากนักวิจัยและผู้ใช้งานว่า Twitter Spaces เป็นแหล่งรวบรวม hate speech (ถ้อยคำโจมตีที่อาจจะส่งผลที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความคิดเห็น ศาสนา การเมือง และอื่น ๆ) ทำให้ Twitter Spaces กลายเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาในแง่ลบ 

ซึ่งทาง Twitter ก็อนุญาตให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะรายงานห้อง Twitter Spaces ที่มีแนวโน้มที่จะละเมิดกฎระเบียบได้ โดย Twitter จะมีการเก็บข้อมูลของห้อง Twitter Spaces ที่ถูกรายงานไว้และจะทำการตรวจสอบว่ามีการละเมิดกฎในเวลา 30 วัน นอกจากนี้ทาง Twitter ยังมีซอฟต์แวร์ที่ไว้ตรวจสอบถ้อยคำรุนแรงใน Twitter Spaces อีกด้วย 

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ซอฟต์แวร์ของทาง Twitter ไม่สามารถตรวจจับถ้อยคำโจมตีใน Twitter Spaces ได้ก็เพราะว่ามีบาสภายในซอฟต์แวร์ซึ่งทางทีมผู้พัฒนากำลังแก้ไขปัญหาอยู่ นอกจากนี้ทาง Twitter ก็กำลังหาวิธีทางอื่นที่จะควบคุมดูแล ทำให้ Twitter Spaces กลายเป็นมิตรและมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด ซึ่งสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนห้อง Twitter Spaces ที่มีการละเมิดกฎก็ไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาจาก Twitter 

ซึ่งทาง Twitter ก็อนุญาตให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะรายงานห้อง Twitter Spaces ที่มีแนวโน้มที่จะละเมิดกฎระเบียบได้ โดย Twitter จะมีการเก็บข้อมูลของห้อง Twitter Spaces ที่ถูกรายงานไว้และจะทำการตรวจสอบว่ามีการละเมิดกฎในเวลา 30 วัน นอกจากนี้ทาง Twitter ยังมีซอฟต์แวร์ที่ไว้ตรวจสอบถ้อยคำรุนแรงใน Twitter Spaces อีกด้วย 

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ซอฟต์แวร์ของทาง Twitter ไม่สามารถตรวจจับถ้อยคำโจมตีใน Twitter Spaces ได้ก็เพราะว่ามีบาสภายในซอฟต์แวร์ซึ่งทางทีมผู้พัฒนากำลังแก้ไขปัญหาอยู่ นอกจากนี้ทาง Twitter ก็กำลังหาวิธีทางอื่นที่จะควบคุมดูแล ทำให้ Twitter Spaces กลายเป็นมิตรและมีความปลอดภัยกับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด ซึ่งสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนห้อง Twitter Spaces ที่มีการละเมิดกฎก็ไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาจาก Twitter 

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก Cnet

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Google สู้ข่าวปลอมเพื่อโลกสีเขียว

Google

Google บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในแวดวงอินเทอร์เน็ต

ในปัจจุบันนี้โลกของเรากำลังเจอกับปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คุณภูมิของโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นทุกปีภัยพิบัติก็เริ่มมีมากขึ้น แถมยังก่อให้เกิดปัญหาอะไรอีกหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ไฟไหม้ป่า ความแห้งแล้งและอื่น ๆ ซึ่งหลาย ๆ คนก็เห็นถึงปัญหานี้ รวมไปถึงหลายๆ บริษัทและหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็พร้อมที่จะเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวถึงแม้ว่าเราจะต้องยินยอมรับสิ่งที่เราได้สร้างขึ้นตั้งแต่อดีตก็ตามที

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และทุกคนควรให้การแก้ไขแต่ว่าในปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนที่เพิกเฉยเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวและใช้มันในการเป็นช่องทางหาเงินไม่ว่าจะเป็นการแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงหรือการโฆษณาต่าง ๆ ผ่านทางโลกของอินเทอร์เน็ต ทำให้ Google บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในแวดวงอินเทอร์เน็ตนั้นจะต้องออกมากำหนดนโยบายเพื่อกำจัดข้อมูลปัญหาภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ไม่มีข้อเท็จจริงออกไป

โดยนโยบายที่ Google ออกมานั้นจะเริ่มใช้งานในช่วงเดือนหน้า โดยเนื้อหาที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือปัญหาภาวะโลกร้อนรวมไปถึงสาเหตุของปัญหาที่ไม่เป็นจริงนั้น รวมไปถึงโฆษณาที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะถูกนำออกจาก Google รวมไปถึง YouTube และทุก ๆ ช่องทางที่ Google ดูแลอยู่

Google บอกว่ามีพาร์ทเนอร์หลาย ๆ คนกำลังกังวลเกี่ยวกับการโปรโมทข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทาง Google ได้บอกอีกด้วยว่าผู้ที่ทำโฆษณาหลายๆ คนไม่อยากให้โฆษณาของพวกเขาที่มีการโฆษณาใน Google ไปอยู่กับเนื้อหาที่ไม่เป็นจริงเหล่านี้ รวมไปถึงผู้สร้างเว็บและครีเอเตอร์หลายๆ คนไม่อยากให้มีโฆษณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ไม่เป็นจริงแต่แสดงในหน้าเว็บหรือคลิปวิดีโอของพวกเขา

ระยะเวลาที่ผ่านมา Google ได้ถูกกดดันอย่างมากเพื่อให้กำจัดข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าทาง Google ก็พยายามที่จะขยับเขยื้อนมาโดยตลอดและได้มีการเพิ่มช่องทางและเพิ่มระบบใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นใน Google Map และ Google Search ที่ได้มีการเพิ่มการให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและวิธีการลดปัญหา

นอกจาก Google แล้ว บริษัทอื่น ๆ ก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกันและที่สำคัญเลยปัญหานี้ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลกจะเป็นปัญหาที่ทุกคนสามารถช่วยแก้ไขได้ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะไม่ทันแล้วก็ตามแต่สำหรับในอนาคตก็ยังพอเป็นไปได้จะช่วยลดปัญหาที่ได้มากถ้าหากว่าเราร่วมมือกัน

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก CNN

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

YouTube แบนคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาปลอม

YouTube

YouTube แบนคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาปลอมเกี่ยวกับวัคซีน

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิดเริ่มแพร่กระจายและทั่วทั้งโลกเริ่มมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิดกันแล้ว ซึ่งหลาย ๆ คนก็ได้รับวัคซีนไปเป็นที่เรียบร้อยและอีกหลายๆ คนก็ยังไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากการแพร่กระจายของข้อมูลไม่ทั่วถึงรวมถึงข้อมูลบางข้อมูลยังเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริงอีกด้วยซึ่งในส่วนนี้กำลังอยู่ในช่วงของการแก้ไขและลดจำนวนข้อมูลที่เป็นเท็จให้ได้มากที่สุด

หนึ่งในช่องทางที่ใช้ในการแพร่กระจายของข้อมูลนั้นก็คือสื่อสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือช่องทางอื่น ๆ ก็ตามที ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มที่ได้กล่าวมานั้นก็พยายามที่จะตรวจเช็คข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคโควิดและวัคซีนป้องกันโรคโควิดซึ่งส่วนหนึ่งมาจากคำเรียกร้องของรัฐบาลประเทศอเมริกาที่ต้องการให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนกันให้ได้มากที่สุดแต่ก็ดูเหมือนว่าการที่มีจำนวนข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกมามากมายนั้นทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมดและดูเหมือนว่าในตอนนี้นอกจาก Facebook, Twitter แล้ว YouTube ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งทุกอย่างนั้นก็เหมือนดั่งเช่น Facebook และ Twitter ข้อมูลที่ถูกแพร่กระจายออกไปเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดบน YouTube นั้นก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นข้อมูลเท็จ

โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (29 กันยายน 2564) ทาง YouTube ได้ออกมาประกาศว่า “พวกเขาไม่อนุญาตให้ลงคลิปคลิปวิดีโอที่มีการบอกข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่ได้รับการอนุมัติเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นอันตรายหรือมีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงพอ ซึ่งนอกจากจะระงับคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ข้อมูลประเภทดังกล่าวแล้ว ทาง YouTube ก็จะดำเนินการระงับบัญชีผู้ใช้งานที่ทำการเผยแพร่ข้อมูลด้วย ซึ่งทาง YouTube นั้นได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับการลดจำนวนคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิดตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมาและได้มีการเพิ่มนโยบายใหม่เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคถูกเผยแพร่ไปบนแพลตฟอร์ม

อย่างไรก็ตามทาง YouTube ยังสามารถให้ผู้ใช้งานทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการแบ่งปันประสบการณ์การฉีดวัคซีนได้ แต่ไม่อนุญาตให้โปรโมทข้อมูลวัคซีนที่ผิดพลาดเด็ดขาด ซึ่งจากสิ่งที่ YouTube ทำแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ก็ทำด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดและไม่กลัวที่จะเดินทางไปฉีดวัคซีน เพราะว่าวัคซีนถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การแพร่ระบาดของโรคโควิดลดน้อยลงรวมไปถึงอาการเมื่อติดเชื้อก็จะลดความรุนแรงลงด้วยเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังทำให้สื่อสังคมออนไลน์นั้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก The Verge

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  

เวปไซด์ getup-it.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

Twitter ปลอดภัยเมื่อผู้ใช้งานช่วยกัน

Twitter

เพื่อให้เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีระเบียบและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากขึ้น Twitter ได้มีการกำจัดข่าวปลอมไปเป็นจำนวนมาก

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Twitter หนึ่งในสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกกำลังดำเนินการที่จะลดและกำจัดข่าวปลอมออกไปให้ได้มากที่สุดเนื่องจากในปัจจุบันนี้การมีคู่เข้ามาใช้งานจำนวนมากทำให้เนื้อหาที่ออกมาในสื่อสังคมออนไลน์นั้นไม่ได้เป็นเนื้อหาที่ถูกต้อง 100% บางคนเข้ามาใช้งาน Twitter เพื่อหวังผลประโยชน์อะไรบางอย่างจึงได้มีการสร้างเนื้อหาปลอมขึ้นมาทำให้คนอื่นหลงเชื่อ หรือแม้แต่การรีทวิตบางครั้งผู้ใช้งานบางคนอาจจะไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลของข่าวสารได้รอบคอบทำให้บางครั้งข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงก็ได้ถูกเผยแพร่ออกมา และข่าวคราวที่เป็นข้อมูลเท็จจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ใช้งานที่ไม่มีความรู้มากพอ หรือผู้ใช้งานที่เพิ่งเข้ามาเริ่มใช้งาน

เพื่อให้เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีระเบียบและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากขึ้น Twitter ได้มีการกำจัดข่าวปลอมไปเป็นจำนวนมากแล้วแต่ก็ยังไม่หมดสักทีเดียว ทำให้ในตอนนี้อาจจะยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข่าวปลอมอยู่ Twitter จึงได้สร้างตัวเลือกใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นวิธีการในการกำจัดข่าวหรือข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงออกไปจากแพลตฟอร์มของตนเอง โดยคราวนี้ Twitter นั้นจะให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถมีส่วนช่วยเหลือในการรายงานข่าวปลอมต่าง ๆ ด้วย

โดย Twitter ได้มีประกาศมาเมื่อในวันอังคารที่ผ่านมาว่าจะมีการทดสอบฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวกับเรื่องการรายงานข้อมูลที่เป็นเท็จในบางพื้นที่ตัวอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เมื่อผู้ใช้งานสงสัยว่าเนื้อหาที่ได้มีการทวิตออกมานั้นอาจจะเป็นเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงก็จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นตัวเลือกว่า “ It’s misleading” โดยทาง Twitter จะไม่มีการกระทำการใดๆ กับการรายงาน แต่จะเป็นการที่ผู้ใช้งานช่วยให้ Twitter นั้นสามารถขยายขอบเขตต่างๆ รวมไปถึงความเร็วในการทำงานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นเท็จ

ที่ผ่านมา Twitter นั้นมักถูกใช้เป็นช่องทางในการแพร่กระจายข่าวสารต่างๆ ที่ไม่เป็นจริงไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องการเมืองหรือเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลเสียเป็นอย่างมากให้กับประเทศสหรัฐ ทำให้โจ ไบเดนนั้นถึงกับต้องมีการออกมาจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้และได้มีการสั่งให้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ นั้นช่วยทำการลดจำนวนข่าวปลอมให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบมากไปกว่านี้

ที่สำคัญเลยสื่อสังคมออนไลน์นั้น มีการใช้งานไปทั่วโลกดังนั้นปัญหาจึงไม่ได้เกิดแค่ในบางพื้นที่ถ้าหากว่ามีข้อมูลปลอมหลุดออกมา มันส่งผลกระทบไปทั่วโลกเลยทีเดียว ซึ่งในช่วงเวลานี้ก็ยิ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราก็ควรที่จะช่วยกันพิจารณาข่าวสารต่างๆ ก่อนที่จะแบ่งปันไปให้คนอื่นๆ ได้รับรู้กันด้วยเพื่อที่จะลดผลกระทบที่จะตามมา

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก CNN

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com

Twitter จับมือกับสื่อดังเพื่อกำจัดข่าวที่มีข้อมูลเท็จ

Twitter

ในโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในทุก ๆ วันมีข้อมูลข่าวสารออกมาอย่างแพร่หลายอาจจะออกมาจากเพจสำนักข่าวต่าง ๆ หรืออาจจะมีการแชร์ต่อกันของผู้ใช้งานซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็มีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลที่เป็นเท็จปะปนกันไป ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้งานนั้นมีความสับสนได้ถ้าหากว่ารับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ตรงกัน โดยปัญหาข่าวปลอมนั้นเป็นปัญหาที่ปัจจุบันนี้ต้องเร่งแก้ไขให้ได้เร็วที่สุดเพราะในช่วงวิกฤตแบบนี้ข้อมูลข่าวสารควรจะเป็นข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้องมากที่สุด โดย Twitter ก็ได้มีการวางแผนที่จะทำให้ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปเป็นความจริงให้ได้มากที่สุดโดยทาง Twitter นั้นได้มีการจับมือกับสื่อสำนักข่าวชื่อดังอย่าง Reuters และ Associated Press

โดยสำนักข่าวที่ร่วมมือกับ Twitter นั้นจะช่วยกันให้บทความและข้อมูลเบื้องหลังต่าง ๆ กับทาง Twitter ซึ่งก็น่าจะช่วยให้สามารถลดข่าวพี่มีข้อมูลไม่ถูกต้องได้ไม่มากก็น้อย และการร่วมมือในครั้งนี้ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ในแพลตฟอร์มนั้นจะเป็นข้อมูลที่รวดเร็วและเป็นความจริงมากที่สุด

ซึ่งการร่วมมือกันระหว่าง Twitter และสื่อสำนักข่าวอย่าง Reuters และ Associated Press นั้น เป็นการร่วมมือกันเป็นครั้งแรกเพื่อที่จะโปรโมทข้อมูลที่มีความถูกต้องบนแพลตฟอร์มซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้ทาง Twitter นั้นจะเริ่มต้นการทำ Content ในภาษาอังกฤษ

Hazel Baker หัวหน้าฝ่าย UGCของ Reuters บอกว่า “ความจริง, ความรวดเร็ว และ ความเป็นกลางถือว่าเป็นหัวใจหลักของ Reuters ที่ทำกันในทุกๆ วัน” เพื่อที่จะทำให้บริษัทนั้นหยุดการเผยแพร่ของข่าวปลอม เช่นเดียวกับ Tom Januszewski รองประธาน Associated Press ของฝ่าย global business development ก็บอกว่า “บริษัทได้มีการทำงานกับ Twitter อย่างใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน” ควบคู่กับแพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อที่จะขยายการเข้าถึงข่าวสารที่เป็นความจริงออกไป

การทำงานร่วมกันจะทำให้สามารถควบคุมความเป็นจริงของข่าวสารได้มากเลยทีเดียว และคงทำให้ Twitter กลายเป็นสื่อสังคมออนไลน์ท่น่าเชื่อถือมากขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นแน่นอน และในอนาคตเราคงได้เห็นสื่อสังคมออนไลน์คงจะป้องกันข่าวปลอมได้มากขึ้น

ภาพจาก Pixabay

ข้อมูลจาก  Businesstoday

ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit  
เวปไซด์ getup-it.com

Facebook ไม่ลบข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด

Facebook

โรคโควิดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทั่วทั้งโลกในปัจจุบันนี้ มีต้นกำเนิดมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมาซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่มีใครรู้ว่าการแพร่ระบาดนั้นเริ่มต้นมาจากสิ่งไหนกันแน่รับรู้เพียงแค่ว่าเกิดจากประชาชนในประเทศจีนมันน่ารับประทานค้างคาวเข้าไปและหลังจากนั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิดก็แพร่กระจายไปทั่วโลก 

ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคนั้นข่าวก็ได้แพร่สะพัดไออย่างรุนแรงบนโลกออนไลน์และ Facebook เองก็เป็นอีกหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นส่วนช่วยในการกระจายข่าวด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทาง Facebook ก็ได้มีการเผยแผข่าวเกี่ยวกับโรคโควิดไว้ว่า “โรคโควิดนั้นมีต้นกำเนิดมาจากมนุษย์” ซึ่งก็ไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ซึ่งก็ทำให้ผู้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิด หลังจากข่าวนี้ถูกแพร่ออกไป ทาง Facebook เองก็บอกว่าจะลบข่าวนี้ตามที่ได้ปรึกษากับองค์กรอนามัยรวมถึง World Health Organization (WHOs) แต่ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ทาง Facebook เองก็ออกมาประกาศว่าจะไม่ทำการลบข่าวเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโรคโควิดแล้ว 

โดยการประกาศของ Facebook นั้นได้ออกมาหลังจากที่ประธานาธิบดี Joe Biden ออกมาประกาศให้หาต้นกำเนิดของการแพร่ระบาดของโรคโควิดโดยให้เวลา 90 วันแก่เจ้าหน้าที่ในการสืบว่าที่ต้นตอของการแพร่ระบาดนั้นเริ่มจากที่ใด ซึ่งการประกาศของ Joe biden ได้ออกมาหลังจากที่ได้รับข้อมูลมาจากสำนักข่าวกรองของสหรัฐว่าในช่วงปี 2019 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดได้มีนักวิจัยที่สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นล้มป่วยและได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามสาเหตุที่แท้จริงก็ยังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา 

กลับมาที่ Facebook ที่ไม่ยอมลบข่าวเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโรคโควิดนั้นคงทำให้ความเชื่อมั่นลดลงไปได้อย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าทาง Facebook เองได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีปราบปรามข่าวปลอมแล้วแต่ว่าในปัจจุบันนี้ก็ได้มีข่าวปลอมจำนวนมากมายได้ถูกเปิดเผยผ่าน Facebook ดังนั้นเมื่อเราที่เป็นผู้ใช้บริการ Facebook อ่านข่าวต่าง ๆ ไม่ว่าจะถูกแชร์มาหรือว่าค้นพบด้วยตัวเองผ่านทาง Facebook ก็ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อนก่อนที่จะเลือกเชื่อข้อมูลใน Facebook และถ้าหากรู้ว่าเป็นข่าวที่ไม่มีความน่าเชื่อถือก็ไม่ควรที่จะแชร์ต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดไปมากกว่าเดิม

#Facebook #โรคโควิด #ข่าวปลอม #ทันโลกit  #getup-it.com

ข้อมูลจาก CNN, Gadgetsnow

ภาพจาก Pixabay

Facebook ประกาศรัสเซียคือที่ 1 เรื่องการสร้างข่าวปลอม

Facebook

Facebook เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้คนใช้งานกันอยู่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบุคคลดังทำให้มีเรื่องราวต่าง ๆ ถูกแชร์อยู่ใน Facebook ทุก ๆ วัน มีทั้งเรื่องที่เป็นความจริงและเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ถ้าหากเนื้อหาที่ถูกแชร์เป็นความจริงก็จะสร้างผลดีเป็นวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเนื้อหาที่ถูกแชร์ออกไปนั้นเป็นข่าวปลอมขึ้นมามันสามารถสร้างผลกระทบต่อผู้ใช้งานเป็นวงกว้างได้เลยทีเดียว เพราะว่าเนื้อหาข่าวในปัจจุบันนี้สามารถสร้างความเชื่อและเปลี่ยนความคิดของคนหนึ่งคนได้เลย 

ทาง Facebook เองก็พยายามที่จะออกมาลบเนื้อหาข่าวที่ไม่เป็นความจริง เริ่มตั้งแต่ในปี 2017 Facebook ได้ทำการลบข้อมูลมากกว่า 150 เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมโยงเกี่ยวกับกิจกรรมปลอม ซึ่งจำนวน 27 เน็ตเวิร์คมาจากประเทศรัสเซีย 23 เน็ตเวิร์คมาจากประเทศอิหร่าน 9 เน็ตเวิร์คมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา 

ซึ่งในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ในช่วงนั้นก็ได้มีข่าวแพร่สะพัดอยู่บนโลกออนไลน์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นข่าวปลอมที่ถูกสร้างเพื่อสร้างความเข้าใจผิด ๆ ในปฏิบัติการที่ชื่อว่า coordinated inauthentic behavior (CIB) ซึ่งทาง Facebook เองก็พยายามที่จะกำจัดข่าวปลอมเหล่านั้นที่ถูกแพร่กระจายออกมา เช่นเดียวกันในปี 2016 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้มีการเลือกตั้งก็ได้มีข่าวปลอมออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน 

ในปัจจุบันนี้ข่าวปลอมบนโลกของ Facebook นั้นมีมากมายทำให้ทาง Facebook นั้นจำเป็นที่จะต้องจ้างผู้ดูแลเนื้อหาเพื่อคอยสอดส่องข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์เลยทีเดียว โดยทาง Facebook นั้นได้ร่วมมือกับ fact-checking partners ในการตรวจสอบข่าวปลอม และถ้าหากพบว่าใครนั้นแชร์ข่าวปลอมเป็นประจำ Facebook ก็จะลดการมองเห็นโพสต์บน News feed ของบัญชีนั้น

ในโลกสื่อสังคมออนไลน์ข่าวปลอมนั้นได้แพร่กระจายเต็มไปหมดสิ่งที่เราที่เป็นผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์นั้นจะทำได้ก็คือทุกครั้งที่ได้มีการอ่านเนื้อหาต่างๆก็ควรคิดพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่าเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องไม่จริง ก่อนที่จะแชร์เรื่องราวเหล่านั้นออกไป เพื่อไม่ให้ผู้อื่นที่ใช้งานเข้าใจผิด และเราก็ควรที่จะรับข่าวสารต่างๆผ่านทางเพจที่มีความน่าเชื่อถือตัวอย่างเช่น เพจช่องข่าวต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ และเราก็ควรช่วยกันรายงานเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างนั่นเอง

#Facebook #ข่าวปลอม #ทันโลกit  #getup-it.com

ข้อมูลจาก CNN

ภาพจาก Canva