ในสังคมของอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่ผู้ใช้งานไม่มีตัวตนอยู่จริงซึ่งมันก็ยากที่จะควบคุม ทำให้อินเทอร์เน็ตนั้นมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีปะปนกันไป และหนึ่งในสิ่งที่ไม่ดีนั้นก็คือการโจมตีกันบนโลกอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการบูลลี่หรือการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่และอาจจะทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกัน

โดย Instagram หนึ่งในแอปพลิเคชันคือ Facebook ได้มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า “Limit” ขึ้นมาโดยฟีเจอร์นี้จะสามารถอนุญาตให้ผู้ใช้งานนั้นปิด Comment ของผู้ที่ไม่ได้ติดตามหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มติดตามได้ เพื่อไม่ให้เจอข้อความที่เป็นการเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว หรือว่ามีการส่อว่าเป็นข้อความที่จะทำให้เกิดความเสียหาย โดยสามารถปิดกั้นได้ทางข้อความ และ Emoji อีกทั้งบริษัท Instagram ยังได้เพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะ ปิดกั้นผู้ใช้งานคนอื่นที่อาจจะกระทำการดังกล่าวได้ด้วย โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ทั่วโลกโดยเข้าไปที่ Privacy Setting > Limit แล้วเปิดใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งแยกระหว่างผู้ที่ไม่ได้ติดตามและผู้ร่วมติดตามได้ด้วย โดยฟีเจอร์นี้จะทำงานจนกว่าผู้ใช้งานจะปิดการใช้งาน

ฟีเจอร์นี้ของ Instagram มีความจำเป็นอย่างมากหลังจากที่ฟุตบอลยูโร 2020 ได้จบลงและอังกฤษไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ผู้เล่นชาวอังกฤษหลายรายที่เป็นผิวสีได้ถูกโจมตีจากกลุ่มแฟนคลับโดยการเหยียดสีผิวซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับนักเตะ โดยนักเตะที่ได้ถูกโจมตีก็ออกมาเรียกร้องให้ทาง Social Media ต่าง ๆ นั้นช่วยกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นมาอีก ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทาง Instagram ก็ได้ขอโทษแล้วว่าระบบนั้นทำงานไม่ดีมากพอที่จะยับยั้งเรื่องราวดังกล่าว

ในปัจจุบันนี้ทุกๆ คนนั้นใช้สื่อสังคมออนไลน์แทบจะตลอดเวลาเลยทีเดียวและข่าวสารต่าง ๆ ก็ไหลผ่านให้เราเห็น บางครั้งก็อาจจะทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับการอ่านคอมเมนต์หรือว่าเรื่องราวต่าง ๆ มากนักดังนั้นการรักษาสุขภาพจิตสุขภาพใจถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้เล่นสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความสุขและหนึ่งในวิธีการที่จะทำให้เราสามารถรักษาสุขภาพจิตของเราได้ก็คือการปิดกั้นการรับรู้เรื่องราวที่แย่ ๆ ต่าง ๆ ออกไปและรับรู้แต่เรื่องราวดี ๆ ดังนั้นถ้าหากว่าเพื่อน ๆ ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำก็ควรที่จะกำหนดเนื้อหาในการรับชมเพื่อที่จะไม่ทำให้การเข้าใช้งานนั้นมีความเคร่งเครียดมากเกินไป
ภาพจาก Pixabay
ติดตามบทความเรื่องเทคโนโลยีได้ที่ ทันโลกit
เวปไซด์ getup-it.com